Authorทวีวงศ์ ศรีบุรี, ผู้วิจัย
Titleโครงการนำร่องการประเมินวัฏจักรชีวิตของการปลดปล่อยและเก็บกักก๊าซเรือนกระจก ของโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี : ระยะที่ 1 การเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยถ่ยชีวภาพ (Biochar) จากการปลูกพืชชนิดต่างๆ = Pilot project on asessment development at Hui Sai Royal Development Study Center, Petchaburi : Phase 1 - Biochar for Carbon dioxide capture from plantations / โดย ทวีวงศ์ ศรีบุรี
Imprint กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Descript 1 เล่ม (หน้าไม่เรียงลำดับ) : ภาพประกอบ ; 30 ซม

SUMMARY

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และพัฒนาเตาถ่านชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่ศูนย์วิจัยถ่านชีวภาพ-ป่าเด็ง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลสามารถนำถ่านชีวภาพที่มีคุณภาพไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม การพัฒนาเตาเผาถ่านชีวภาพได้กำหนดให้เป็นไปตามระบบการเผาไหม้ระบบไพโรไลซีสแบบเผาช้า (Slow Pyrolysis, SLW) ที่สามารถควบคุมไม่ให้ก๊าซออกซิเจนไหลเข้าและอุณหภูมิการเผาถ่านชีวภาพให้อยู่ระหว่าง 500-600 องศาเซลเซียส โดยเมื่อได้ถ่านชีวภาพแล้ว ได้ศึกษาคุณสมบัติประสิทธิภาพและการดูดซับของถ่านชีวภาพ จากผลการทดสอบสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของเตาเผา พบว่าจะต้องใช้ถังกลมขนาด 200 100 และ 50 ลิตร โดยถังขนาด 200 ลิตรเป็นเตาส่วนนอกสำหรับเผาเชื้อเพลิงที่มีการเจาะช่องจำนวน 8 ช่องด้านล่าง เส้นผ่าศูนย์กลางของช่องประมาณ 1 เซนติเมตร ถังกลมขนาด 100 และ 50 ลิตร ใช้เป็นเตาเผาด้านในเพื่อผลิตถ่านชีวภาพ ปริมาณเชื้อเพลิง ที่ใช้แต่ละครั้งประมาณร้อยละ 60 ของวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่จะทำถ่านชีวภาพ ศึกษาการใช้ถ่าน (Charcoal) และถ่านชีวภาพ (Biochar) ผสมกับปุ๋ยหมักในการปรับปรุงคุณภาพดิน โดยได้ทำการทดลองและตรวจสอบการเพิ่มผลผลิตของพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสงและเห็ดนางฟ้าภูฐาน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ผลการทดสอบการปรับปรุงคุณภาพดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวฟ่าง ข้าวโพดหวานและถั่วลิสง โดยอัตราส่วนผสมของถ่านและถ่านชีวภาพ ที่ผสมลงในดินธรรมชาติเป็น 10% 20% และ 30% และพบว่าถ่านและถ่านชีวภาพที่ผสมกับปุ๋ยหมักทั้ง 3 อัตราส่วนนั้น ให้มีประสิทธิภาพในการกักเก็บความชื้นในดินสูงขึ้น ให้ผลต่อการเจริญเติบโตและมีผลผลิตของพืชมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ดินธรรมชาติในการเพาะปลูก แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยหมัก หากใช้ในปริมาณที่มากเกินพอจะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อยลง สำหรับการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน พบว่าการใช้ขี้เลื่อยไม้ยาวพารา 90% ผสมถ่าน 10% ให้อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของเห็ดนาฟ้าภูฏานดีที่สุด ซึ่งผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าต้นทุนการผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏานลดลง
This research has an objective to develop Biochar Kiln by using appropriate technology which farmer in rural area can be used to make biochar for soil amendment. The experiments were set at Padeng Biochar Research Center, Petchburi Province. Biochar kiln was developed according to the Slow Pyrolysis (SLW) process. Material used for kiln and retort were metal drums of 200, 100 and 50 liters which is double standing drum system. Retort is for biochar production and kiln is used for firewood or other waste material to combust the biochar. Retort which is slow pyrolysis system, control no oxygen inflow and the temperature has controlled of about 500-600℃ to get the best quality of biochar. The results show that 8 small holes about 1 centimeter in diameter at the lower level of the kiln and by using firewood about 60% of the material for biochar is the best Biochar kiln. Charcoal and biochar is used with organic fertilizer to improve soil quality and Increase production yield on sorghum (Sorghum bicolor L.) Moench, Sweet corn (Zea mays L. var. saccharate), Groundnut (Arachis hypogaea L.) and Phoenix Mushroom (Indian Oyster, Lung Oyster). The experiments were set at Hui Sai Development Study Genter, Chaum District, Petchburi Province. Mixing biochar with original soil and organic fertilizer is tested on the proportion of 10% 20% and 30%. The results show that soil moisture is higher than the original soil and give high production yield. In case of use too much fertilizer, the soil will have higher acidity which will reduce the production yield. For Phoenix Mushroom, biochar mix with Para rubber sawdust on the proportion of 1:9 will give the highest production yield. The conclusion is that the cost of Phoenix Mushroom Production by using Para rubber sawdust mix with biochar is less than the original method.


SUBJECT

  1. ก๊าซเรือนกระจก

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library : Chula Collection (6th Floor)ต.19 4/19 IN REPAIR