Authorปราณี รัตนวลีดิโรจน์
Titleการเตรียมอนุภาคซิงค์ออกไซด์จากของเสียในกระบวนการชุบสังกะสี : รายงานวิจัย / โดย ปราณี รัตนวลีดิโรจน์, กนกวรรณ แสงเกียรติยุทธ
Imprint กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49146
Descript ix, 42 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ ; 30 ซม

SUMMARY

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเตรียมซิงค์ออกไซด์จากของเสียของกระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน ซึ่งผลจากวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ในดรอสนั้นมีปริมาณสังกะสีเป็นองค์ประกอบอยู่สูงถึง 92% ซึ่งมากกว่าปริมาณที่พบในเถ้าถึงสองเท่า ในงานวิจัยนี้พบว่า เมื่อนำดรอสมาทำการสกัดแยกโลหะเจือปนด้วยวิธีการละลายด้วยกรดซัลฟูริกความเข้มข้น 5% ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาทำการตกตะกอนด้วยวิธีการควบคุมค่า pH จะสามารถสกัดแยกปริมาณตะกั่วและเหล็กออกไปได้ถึง 99% โดยในขั้นตอนการนำสารละลายที่ผ่านการสกัดแยกแล้วมาตกตะกอนให้อยู่ในรูปของสารประกอบสังกะสีนั้น ปริมาณไฮดรอกไซด์ไอออนที่มีอยู่ในสารละลายนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้ จากการทดลองพบว่า การตกตะกอนที่ pH 12 เป็นภาวะที่สามารถสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ได้โดยไม่ต้องผ่านการรีฟลักซ์ โดยซิงค์ออกไซด์ที่เตรียมได้มีปริมาณเหล็ก ตะกั่ว และอะลูมิเนียม เหลืออยู่ที่ระดับ 0.01%, <0.005% และ <0.03% ตามลำดับ ผลจากการตรวจสอบลักษณะรูปร่างของอนุภาคพบว่า ซิงค์ออกไซด์ที่เตรียมได้จากกรณีการใช้วิธีละลายตะกอนด้วยกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 14% มีลักษณะเป็นเม็ดค่อนข้างกลมขนาดประมาณ 50-100 นาโนเมตร ส่วนอนุภาคของซิงค์ออกไซด์ที่เกิดจากการใช้วิธีละลายตะกอนด้วยกรดซัลฟูริกความเข้มข้น 5% นั้นมีรูปร่างเป็นแผ่นขนาดประมาณ 100-400 นาโนเมตร นอกจากนี้เมื่อนำซิงค์ออกไซด์ที่เตรียมได้มาทดลองประยุกต์ใช้เป็นสารยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในซิลิโคน ยังพบว่า ชิ้นงานพอลิเมอร์ดังกล่าวแสดงสมบัติในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ได้ดี
The preparation of zinc oxide from hot dip galvanizing waste was studied. The analysis results showed that the zinc content in dross sample was at 92%, which was two times higher than that in ash. By leaching zinc dross with 5% sulfuric acid at 45C for 6 hrs followed by pH-controlled precipitation, 99% of Pb and Fe in the dross were selectively removed. The amount of hydroxide ion used in zinc compound precipitation step had a strong influence on the properties of the products. By controlling the solution at pH 12, the precipitate of zinc oxide could be obtained from the purified leach solution, without a need to perform refluxing. The results revealed that the zinc oxide product consisted of Fe, Pb and Al at 0.01%, <0.005% and <0.03% respectively. Zinc oxide particles prepared by dissolving the zinc compound precipitate with 14%HCl had round shape with particle sizes of 50-100 nm while the flake-like shape particles with 100-400 nm diameter were obtained when the zinc compound was dissolved in 5%H2SO4. The results from antimicrobial activity tests indicated that 5% zinc oxide-filled silicone specimen had good inhibiting properties for Staphylococcus aureus and Escherichia coli.


SUBJECT

  1. สังกะสีออกไซด์
  2. การชุบด้วยสังกะสี