Authorวิภาวี วงศ์เดโช
Titleแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) / วิภาวี วงศ์เดโช = The strategic plan for sustainable development of "Banang-et community forest development project (Chaipattana Foundation)" / Viphavee Wongdecho
Imprint 2554
Descript ก-ซ, 129 แผ่น: ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

แผนกลยุทธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินศักยภาพของโครงการพัฒนาป่าชุมชน บ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา)ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ (Ecotourism) แห่งใหม่ของจันทบุรี โดยทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกของกิจการ เพื่อประเมินจุดอ่อนและจุดแข็ง รวมถึงโอกาสและอุปสรรค จากนั้นกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กุญแจแห่งความสำเร็จ เป้าหมายและกลยุทธ์ที่เหมาะสม รวมทั้งจัดทำระบบการประเมินผลการดำเนินงาน ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงาน(KPI) และ แผนที่กลยุทธ์(Strategy map) เพื่อให้โครงการสามารถควบคุมกลยุทธ์และเติบโตได้อย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า โครงการฯมีศักยภาพในการจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้โดยการพัฒนาจากจุดแข็งทั้ง 3 ด้านของโครงการฯ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความได้เปรียบด้านชื่อเสียงของมูลนิธิชัยพัฒนา และองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยด้านธรรมชาติวิทยาและการเกษตร รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชุมชน ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการองค์ความรู้จาก แนวพระราชดำริ ผลงานวิจัยในโครงการฯ ความรู้จาก ภาครัฐ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสินค้า บริการและปัจจัยสนับสนุนการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากการเชื่อมโยงกลยุทธ์การตลาดแบบ 7Ps กลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้ รวมทั้งการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับชุมชน และการสร้างพันธมิตรกับสถานศึกษารวมทั้งหน่วยงานต่างๆ จะช่วยส่งเสริมให้โครงการฯ สามารถสร้างประโยชน์ได้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาของมูลนิธิชัยพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งชุมชนและโครงการฯสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
This Strategic Plan is developed in order to evaluate the potential of “Banang-et Community Forest Development Project (Chaipattana Foundation)” to be new Ecotourism attraction of Chantaburi.The study included both External and Internal factors analysis to define Strength, Weakness, Opportunity and Threat. Vision, Mission, Key success factor, suitable Goal and Strategy have been defined. Performace evaluation system, Key Performace Indicator (KPI) and Strategy map are developed to control Strategic implementation and resulting in sustainable growth. According to study, this Community Forest Development Project has potential to be Ecotourism attraction with 3 competitive advantages which are the abundance of Natural resources, the famous of Chaipattana foundation and the valuable knowledge from Environmental and Agricultural research including local knowledge from community lead to 3 Core Strategics; Strategics 1: Promoting the research for Nature conservation and increasing community participation. Strategics 2: Knowledge integration of the theory from our King Bhumibol, the valuable research and local knowledge from community. Strategics 3: Developing Products, Services and Supporting factors for Ecotourism attraction By integration of Marketing strategy 7Ps, Knowledge Management, the supporting of community working team together with partnership (Education institutes and other related organizations) that could bring the Community Forest Development Project to achieve Chaipattana’s key goals in 3 development areas (Economy, Social, Agricultural and Environmental perspectives) and resulting in sustainable growth.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project53826168 LIB USE ONLY