Authorเอกชัย ธนากอบกิจ
Titleการประยุกต์ใช้ Lean ในกลุ่มกระบวนการปิดฝาของผลิตภัณฑ์ทรานซ์มิตเตอร์ / เอกชัย ธนากอบกิจ = Lean application on seam sealing process for transmitter process / Ekachai Thanakobkit
Imprint 2554
Descript ก-จ, 71 แผ่น: ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคนิคการผลิตแบบ Lean ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางด้านการบริหารการผลิตและหาโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของสายการผลิตตัวอย่างที่บริษัท ฟาบริเนท จำกัด โดยเริ่มจากการศึกษาสภาพทั่วไปของบริษัทและขั้นตอนการผลิตในสายการผลิตทรานซ์มิตเตอร์ หลังจากนั้นทำการรวบรวมข้อมูลทั้งในรูปแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาหรือโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและทำการทดลองปฏิบัติ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือชิ้นงานที่ผลิตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิตจำนวนทั้งสิ้น 1,679 ชิ้นงาน และชิ้นงานที่ผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยเทคนิคการผลิตแบบ Lean จำนวนทั้งสิ้น 2,445 ชิ้นงาน หลังจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตก่อนและหลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้มาตรวัดสำหรับการผลิตแบบ Lean ได้แก่ รอบเวลาการผลิต อัตราผลผลิตเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงต้นทุนการผลิตที่ลดลง โดยการใช้การทดสอบสมมติฐานทางสถิติทั้งแบบพาราเมตริกและ นอนพาราเมตริก ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตสำหรับกลุ่มกระบวนการปิดฝาในสายการผลิตทรานซ์มิตเตอร์ โดยใช้เทคนิคการผลิตแบบ Lean ทำให้เวลานำในการผลิตโดยรวมลดลงจาก 17.17 ชั่วโมง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็น 11.78 ชั่วโมงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 อีกทั้งยังสามารถเพิ่มอัตราผลผลิตในกลุ่มกระบวนการปิดฝา Seam Sealing จาก 2.86 ชิ้นงานต่อ 1 ชั่วโมงแรงงานทางตรงในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็น 8.73 ชิ้นงานต่อ 1 ชั่วโมงแรงงานทางตรงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
The objectives of this study were to apply the Lean manufacturing technique in the process of problem analysis in the aspect of production management and look for the opportunities to improve the production line at Fabrinet Company Limited. The research methodology started from scanning the company environment and observed the process flow of Transmitter line. This study used both the primary and secondary data. The populations of this study were the 1,679 units of product which produced in June 2011 (these presented the process before implementing of Lean manufacturing) and the 2,445 units of product which produced in February 2012 (these presented the process after implementing of Lean Manufacturing). The efficiencies of the process before implementing of Lean Manufacturing were compared to the process after implementing of Lean Manufacturing. The two measurements of efficiency were lead time and productivity. These measurements were used in data analysis of non-parametric hypotheses testing. The result of this study revealed that after the implementation of Lean manufacturing technique, the Seam Sealing process of Transmitter operation department reduced total lead time from 17.17 hours in June 2011 to 11.78 hours in February 2012. The finding also showed that after the implementation of Lean Manufacturing, the Seam Sealing process line can increase productivity from 2.86 units per 1 direct labor hour in June 2011 to 8.73 units per 1 direct labor hour in February 2012.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project53827284 LIB USE ONLY