Authorไตรรัตน์ พุทธรักษา
Titleการศึกษาผลกระทบของมาตรการ Quantitative Easing (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐที่มีผลต่อตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศกลุ่ม Asian Emerging Market / ไตรรัตน์ พุทธรักษา = The study of Fed’s Quantitative Easing (QE) effect on stock markets and exchange rates in Asian emerging market countries / Trirat Puttaraksa
Imprint 2554
Descript ix, 73 แผ่น: ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

โครงการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย (Quantitative Easing) ของธนาคารการกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีผลต่อประเทศในกลุ่ม Asian Emerging Market ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ผลกระทบที่ทำการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลตอบแทน ความผันผวน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้ข้อมูลรายวันของดัชนีตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2005 จนถึงเดือนธันวาคมปี 2011 มาทำการศึกษา ผลการศึกษาระบุว่าผลกระทบจากมาตรการ QE มีส่วนทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง QE1 เกือบทุกประเทศ ยกเว้นประเทศจีนและอินเดีย นอกจากนี้ QE ยังมีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นในช่วง QE1 ในทุกประเทศ ยกเว้นประเทศจีนที่มีการแทรกแซงค่าเงินหยวนจากทางการ อย่างไรก็ตาม QE ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์มากนัก แต่กลับมีผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในบางประเทศ
The purpose of this independent study is to investigate the effects of Quantitative Easing (QE) Policy announced by U.S. Federal Reserve (Fed) on Asian Emerging Market Countries including China, India, Indonesia, Malaysia, Philippines and Thailand. More specifically, this study focuses on the effects of QE on returns and volatilities of stock market indexes and currency values, and the relationship between stock market indexes and exchange rates. Daily stock index and exchange rate data from August 2005 to December 2011 are used in this study. The result shows that stock index returns in most countries increased significantly during the QE1 period, except for China and India. In addition, QE also caused correlation between stock indexes and exchange rates to increase during the QE1 period in most countries except for China which implemented currency intervention during the period. However, QE did not impact stock market volatility significantly, but instead caused exchange rate volatility to increase significantly in some countries. In conclusion, I found that the implementation of monetary policy in the US has observable impacts on financial markets of Asian Emerging Markets. However, the degree of the impact varies, probably due to differences policies they used in response.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project53824349 LIB USE ONLY