Authorอรุณี วรรณเสน, 2526-
Titleความชุกของภาวะเพ้อและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเพ้อในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด / อรุณี วรรณเสน = Prevalence of delirium and factors related to delirium in adult patients undergoing open heart surgery / Arunee Wannasen
Imprint 2553
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29643
Descript ก-ญ, 91 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 99 คน ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 – เดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม ฉบับภาษาไทย (Thai Mental State Examination),และแบบประเมินภาวะเพ้อ ฉบับภาษาไทย (Thai Delirium Rating Scales 6 ITEM ) สถิติที่ใช้ ได้แก่ Chi-Square test, t-test, One – way ANOVA, และ Multiple Linear Regression Analysis
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 63 ปี (S.D. = 1.25 ) ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ( 38.4% ) ประกอบอาชีพรับจ้าง ( 35.4% ) มีภาวะโรคร่วม (76.8%) โรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะโรคร่วมที่พบได้บ่อย (38.4% ) ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงของ โรคหัวใจอยู่ในระดับที่สอง (74.7%) ชนิดของโรคหัวใจที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ (53.5%) การผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (60.6%) และส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการทำผ่าตัดระหว่าง 4-5ชั่วโมง(S.D. = 1.08) ผลการศึกษาพบการเกิดภาวะเพ้อ 24.2 % ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเพ้อได้แก่ อายุ , การมีโรคร่วม , การมีประวัติการสูบบุหรี่, ระยะเวลาในการคาท่อช่วยหายใจ, ระยะเวลาในการทำผ่าตัด, ระยะเวลาในการพักรักษาในห้อง ICU และระยะเวลาที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาล
The research data collected from 99 samples of adult patients undergoing open heart surgery from December 2009- February 2010 The research methods include data collection using questionnaire consist of 3 part, such as: demographi questionnaires, TMSE ( Thai Mental State Examination ),TDRS ( Thai Delirium Rating Scales 6 ITEM ). The data were statistically analyzed by Chi-Square test, t-test, one – way ANOVA, and Multiple Linear Regression Analysis.
The findings revealed that the majority of adult patients undergoing open heart surgery were male (63.6%). The average of age was 63 years (S.D. = 1.25). Most of samples (38.4%) had primary level education. Most of the samples were employees (35.4%). Over half of samples had co- morbidity (76.8%). Hypertension and diabetes was the most common co-morbidity disease (38.4%). Over half of samples were in the functional classes II (74.7%).The common types of heart disease were coronary artery disease (53.5%). The major types of operation were coronary artery bypass graft (60.6%). Most samples had operation time during 4-5 hours (S.D. = 1.08) .The occurrence rate of delirium was 24.2 %. The factors related to delirium in adult patients undergoing open heart surgery were age, co-morbidity, history of cigarette smoking, operation time, intubation time, ICU length of stay and hospital length of stay.


SUBJECT

  1. Delirium
  2. Heart -- Surgery -- Risk factors
  3. อาการเพ้อ
  4. หัวใจ -- ศัลยกรรม -- ปัจจัยเสี่ยง

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis531835 LIB USE ONLY
Medicine Library : Thesisอ418ค 2553 CHECK SHELVES