Authorภาวิต ถือทอง
Titleความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด / ภาวิต ถือทอง = Employee engagement: a case study of the ABC Co., Ltd. / Phawit Thuethong
Imprint 2555
Descript ก-ซ, 77 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ABC จำกัด ทำการศึกษาโดยใช้แนวคิดของ The Gallup Organization ซึ่งแบ่งลำดับขั้นความผูกพันออกเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย ระดับที่ 1 ด้านความต้องการพื้นฐาน (Basic Need) ระดับที่ 2 ด้านการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร (Management Support) ระดับที่ 3 ด้านสัมพันธภาพ (Relatedness) และระดับที่ 4 ด้านความก้าวหน้าในงาน (Overall Growth) โดยการวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากพนักงานฝ่ายผลิตในระดับปฏิบัติการของบริษัท ABC จำกัด แผนก Hair Care Packing Operation รวมทั้งสิ้นจำนวน 202 คน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีระดับความผูกพันต่อองค์การตามลำดับขั้นความผูกพันทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับสูง สามารถจัดลำดับความผูกพันต่อองค์การทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ลำดับขั้นความผูกพันระดับที่ 3 ด้านสัมพันธภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ระดับที่ 1 ด้านความต้องการพื้นฐาน ระดับที่ 2 ด้านการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร และระดับที่ 4 ด้านความก้าวหน้าในงาน ตามลำดับ นอกจากนั้น ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส การมีผู้ที่อยู่ในอุปการะ ระดับการศึกษา ประเภทของงานที่รับผิดชอบ ระดับของตำแหน่งงาน และระยะเวลาที่ทำงานในบริษัท พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานทุกปัจจัย มีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันต่อองค์การ
The objective of this study was to examine the level of employee engagement and the relationship between demographic factors and the Hierarchy of Engagement of ABC Co., Ltd. employees who are the technician in the Hair Care Packing Operation. The Hierarchy of Engagement developed by the Gallup organization consists of 4 levels which are 1) Basic Need 2) Management Support 3) Relatedness and 4) Overall Growth, respectively. The questionnaire, Q12 survey, was used as instrument for gathering data from all 202 technicians of the Hair Care Packing operation. The results of this study showed that all 4 employee engagement levels were in high level. It showed that the highest mean score was the relatedness followed by the basic need, the management support and the overall growth, respectively. Moreover, it was also found that all the demographic factors, which are gender, age, marital status, having the dependent, education level, job type, job level and year of service, were correlated with the Hierarchy of Engagement.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project53830301 LIB USE ONLY