Authorนันทรัตน์ ชัยชาญวัฒนากุล
Titleปัจจัยและความพึงพอใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนรูปแบบทางเลือก สำหรับเด็กชั้นปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร / นันทรัตน์ ชัยชาญวัฒนากุล = The factors and satisfaction of parents in selecting the alternative kindergarten in Bangkok / Nuntharat Chaichanwattanakul
Imprint 2555
Descript ก-ฏ, 101 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้ศึกษา ปัจจัยและความพึงพอใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนรูปแบบทางเลือก สำหรับเด็กชั้นปฐมวัย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรกำลังเรียนอยู่ในอนุบาลทางเลือก ทางวิชาการ และมีบุตรที่กำลังจะเข้าศึกษาระดับชั้นอนุบาล จำนวนทั้งหมด 444 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาการตระหนักรับรู้ถึงการศึกษาแบบทางเลือกของโรงเรียนชั้นปฐมวัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อระบบการศึกษาในชั้นปฐมวัยแบบทางเลือกเทียบกับสายวิชาการ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยการเลือกโรงเรียนชั้นปฐมวัยของผู้ปกครองประเภทต่างๆ และหาความสัมพันธ์จำแนกตามข้อมูลทั่วไป 4) เพื่อทราบถึงปัจจัยที่ส่งเสริมหรือสิ่งที่ควรเพิ่มเติมให้โรงเรียนสำหรับเด็กชั้นปฐมวัย รูปแบบทางเลือกเพื่อเพิ่มระดับความนิยมและได้รับการยอมรับในวงกว้าง ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจุบันผู้ปกครองมากกว่า 80% รู้จักหรือเคยได้ยินถึงการศึกษารูปแบบทางเลือกของโรงเรียนชั้นปฐมวัย โดยผ่านเพื่อนหรือคนรู้จัก และสื่อออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ 2) ระดับความพึงพอใจต่อระบบการศึกษาโดยเฉลี่ยของผู้ปกครองทั้ง 2 รูปแบบอยู่ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในรูปแบบทางเลือกจะมีความพึงพอใจมากกว่า 3) ปัจจัยการเลือกโรงเรียนปฐมวัยโดยทั่วไปในเรื่อง ครูและรูปแบบการเรียนการสอนสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับแรก โดย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ต่อครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยการเลือกโรงเรียนชั้นปฐมวัยบางปัจจัย 4) ปัจจัยที่สิ่งเสริมต่อระบบการศึกษาทางเลือกมากที่สุดคือ ความสุขในการเรียนรู้สมวัย ไม่เกิดความเบื่อหน่ายหรือเครียดจนเกินไป สิ่งที่ผู้ปกครองกังวลมากที่สุดต่อการศึกษารูปแบบทางเลือกคือ ครูผู้สอนไม่มีความรู้ในการสอนรูปแบบนี้อย่างแท้จริง และเด็กไม่มีความสามารถสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้
The main objectives of this research are to determine perception of the alternative educational approach among the parents whose their children are in or are entering the pre-school level in Bangkok Metropolitan area (“Focus Group”); to measure satisfaction of parents towards the alternative system; to understand critical factors driving a decision of schooling approach; and to comprehend supporting factors which could improve the better understanding of existing alternative educational approach in broader group. The result of this study; which is conducted over 444 samples (by means of questionnaires) and is processed and analyzed by SPSS program, indicates that
1.More than 80% of the Focus Group recognize the alternative educational approach via acquaintance and online media; 2.The Focus Group whose its children pursuing alternated educational approach in their pre-school level tends to better satisfying with its choice of schooling approach comparing to parents whose their children are pursuing the conventional approach; 3.Teaching methodology and quality of teachers rank highest among the primary factors for the decision making over educational approach; 4.The most critical supporting factor that encourages parents to send their children to the alternative educational approach is children’s pleasure and enjoyment; on the other hand, the suspicion in smooth transition to conventional primary educational system and children’s competitiveness are most concerned.


SUBJECT

  1. เด็กปฐมวัย -- การศึกษา
  2. การศึกษาขั้นก่อนประถม
  3. โรงเรียน -- การวางแผน

LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project53829796 LIB USE ONLY