Authorนภาพร พรอนุวงศ์
Titleแผนการตลาดสำหรับผ้าทอเกาะยอ จังหวัดสงขลา ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ / นภาพร พรอนุวงศ์ =Marketing plan for Koh Yo Hand-Woven Fabric of Agricultural Housewives Group in Koh Yo District, Songkhla / Napaporn Pornanuwong
Imprint 2555
Descript ก-ฏ, 104 แผ่น; ตาราง, รูปภาพ

SUMMARY

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาโครงการพิเศษชุดนี้เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอเกาะยอ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของจังหวัดสงขลา และนำมาใช้วางแผนการตลาด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่รู้จักผ้าทอเกาะยอจำนวน 200 คน โดยเป็นผู้ที่อาศัยหรือเดินทางไปจังหวัดสงขลาและภาคใต้เป็นหลัก จากการสุ่มตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชื่นชอบผ้าทอพื้นเมืองเนื่องจากภาคภูมิใจในภูมิปัญญาชาวบ้าน และชอบลวดลายผ้าที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ ส่วนกลุ่มที่ไม่ชอบเห็นว่าผ้าพื้นเมืองดูแลรักษายาก ผ้าหนา ร้อน และสวมใส่ไม่สบาย สำหรับปัญหาหลักของผ้าทอเกาะยอคือ ช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย จากผลการวิจัยผู้บริโภค ได้นำมากำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์ “ดอกรัก” ให้เป็นแบรนด์ในใจผู้บริโภค ผ่านการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ คุณภาพ การบริการที่เป็นเลิศและครบวงจร เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ และกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยเน้นคุณสมบัติหลักของผ้าทอเกาะยอคือ ใส่แล้วไม่ร้อน สวมใส่ได้ทุกวัน และดูแลรักษาง่าย เพื่อเป็นการควบคุมและติดตามให้สามารถดำเนินกลยุทธ์ได้ตามที่วางแผนไว้ จึงได้กำหนดตัวชี้วัดทางการตลาด และจัดทำแผนสำรองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางการตลาดที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามแผนการตลาดนี้ควรได้รับการทดสอบทางการตลาดก่อนเริ่มใช้งานจริง และควรเพิ่มแผนระยะยาวเพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน
The main objective of this independent study is to understand the marketing factors that influent the purchasing decision of Koh-Yo hand-woven fabric ,OTOP product in Songkhla, in order to make the Company’s marketing plan. The sampling group for this study is two hundred people who knew Koh-yo hand-woven fabric and live or work in Songkhla or the southern of Thailand chosen by a strategic random selection. The study finds that the reasons for the persons who like Thai woven fabric are proud of ancestor’s knowledge and admire in the beautiful and unique pattern of fabric. The reason for dissatisfy in Thai woven is too difficult to take care and not comfortable to wear every day. The main problem for Koh-Yo hand-woven fabric is distribution channel which not cover in many area. This consumer study leads to a product strategy focused on creating a brand “Dok rak” throughout the product differentiate, quality and service with good brand image and perception among consumers. Traditional distribution channel must be improved to an online channel to increase consumer satisfaction. Moreover, integrated marketing communication towards target consumer group will be employed under the main message “comfortably to wear everyday with less care” To ensure that the marketing plan will closely follow the marketing strategy outline, marketing indicators have been elected for monitoring purpose. A backup plan has been prepared for any uncertainly circumstance. Finally, a marketing plan should be tested before adopt in the real market and long-term marketing plan should be developed for the most completed marking plan in order to increase the sustainable growth rate.


SUBJECT

  1. ผ้าทอ -- ไทย (ภาคใต้)

LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project53829744 LIB USE ONLY