Authorสมาพร คล้ายวิเชียร
Titleจิตรกรรมสื่อผสม : ความกลัวในวิถีชีวิต / สมาพร คล้ายวิเชียร = Painting mixed media : fear in the way of life / Samaporn Clayvichien
Imprint 2554
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28182
Descript ก-ต, 200 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยเชิงสร้างสรรค์จิตรกรรมสื่อผสม : ความกลัวในวิถีชีวิต มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารวบรวมความ เชื่อของไทยเกี่ยวกับความกลัวในวิถีชีวิตที่ถ่ายทอดออกมาเป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันภัย แล้วนำสัญลักษณ์ ตามความเชื่อที่ได้ศึกษามาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านศาสนา ความเชื่อ จิตวิทยา และศิลปะ เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดใน การวิจัย (R1) 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม (D1) 3) วิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสมในด้านรูปแบบ ความงาม และการสื่อความหมาย (R2) โดยใช้ทฤษฎีสีของโคบายาชิ ทฤษฎีการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนมูลฐานทางศิลปะและหลักการทางศิลปะ ของ ยีน มิทเลอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นฐานความกลัวของคนไทยเป็นความกลัวต่อภัยที่มองไม่เห็นตัว ซึ่งเกิดมาจาก ความรู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัวเอง รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิต การงาน วิธีขจัดความกลัวชนิดนี้ คือ หาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นเครื่องป้องกัน สิ่งศักดิ์สิทธิ์มักพบในสัญลักษณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสิ่งประดิษฐ์ สัตว์ และสี คนไทยนิยมใช้สีในเรื่องสิริมงคล ฤทธิ์ อำนาจ วาสนา 2) การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม มีมูลเหตุมา จากความกลัวของผู้วิจัยที่กลัวจะไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา และกลัวจะได้ในสิ่งที่ไม่ปรารถนา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีวิธี ขจัดความกลัวของตนเองจากความเชื่อที่ถูกถ่ายทอดมา โดยเลือกใช้ใยแมงมุมและอัญมณีมาเป็นสัญลักษณ์ใน การสร้างสรรค์ ซึ่งใยแมงมุมเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการดักจับสิ่งที่ปรารถนา และการป้องกันภัย เพราะเชื่อว่า ใยแมงมุงมีความเป็นสิริมงคล ด้านกายภาพเป็นที่อยู่อาศัยอันปลอดภัยและเป็นกับดัก ทางด้านรูปทรงมีรูปทรง ที่อิสระสามารถก่อเป็นรูปทรงอย่างไรก็ได้ ตามแต่แมงมุมนั้นจะถักทอใยไปยึดเกาะกับวัตถุใดๆ ส่วนอัญมณี เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งที่ผู้วิจัยปรารถนา เพราะเชื่อว่า อัญมณีมีพลานุภาพดลบันดาลให้พบแต่ ความสุข ความ เจริญ ความมั่งมี ด้วยเหตุนี้ จึงใช้รูปทรงของใยแมงมุม และอัญมณีในการสร้างสรรค์ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ลัทธิปรนัยที่เชื่อว่า ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ จึงทำการวาดเส้นทีละเส้น ติดคริสตัสทีละเม็ด ฉะนั้น ใน ผลงานสร้างสรรค์จึงประกอบด้วย เส้น จุด และสี ซึ่งส่งผลให้ผลงานสร้างสรรค์มีรูปแบบลักษณะกึ่งนามธรรม ที่มีความงามเกิดจากสีสันอันกลมกลืนของเส้นที่บรรจงวาดอย่างปราณีต ละเอียดอ่อน และความงามอันเกิด จากการส่องประกายแวววาวของคริสตัส เมื่อเห็นผลสำเร็จของผลงานก็ทำให้เกิดเป็นความสุข ความปิติ ท้ายที่ สุดพบว่า กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ส่งผลสู่การบำบัดตนเองในขั้นสูง เพราะมีคุณค่าทางการบำบัด จิตใจ ก่อให้เกิดสุนทรียะ คือ ทำให้ลืมเรื่องราวในชีวิตประจำวันไปได้ชั่วคราว พร้อมกันนั้นทำให้เกิดอารมณ์ ดื่มด่ำอยู่ในความเพลิดเพลิน จึงทำให้จิตใจของผู้วิจัยได้รับการพักผ่อนเป็นการสะสมกำลัง เพื่อสามารถเผชิญ กับความกลัว หรือปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The research and creation of the mixed media paintings “Fear in the Way of Life” aimed to study the beliefs of Thai people regarding how they deal with fear in their daily life as presented through symbols believed to be able to protect them and ward off danger. The symbols studied were used to create mixed media paintings. This study is a project involving research and development consisting of the following steps: 1) studying the relevant body of knowledge in the fields of religion, belief systems, psychology and art, and determining a research framework (R1), 2) creating mixed media paintings (D1), and 3) analyzing the mixed media paintings in terms of aesthetic patterns and meaning interpretations (R2) by using related analytical theories which include Kobayashi’s color theory and Gene Mittler’s theory regarding analyzing and determining the relationship between elements of art and principles of art. Research findings show that: 1) Thai people’s fundamental fear is the fear of invisible harm. This is caused by the fear of unwanted circumstances, and insecurity in life and work. In order to eliminate this type of fear, sacred objects that are believed to have protective power are used. These sacred objects are found in the form of symbols which can be categorized into man-made artefacts, animals and colors which correspond to their beliefs regarding auspiciousness, prowess and power. 2) To create these mixed media paintings, the researcher was inspired by personal fears which include fears of not attaining that which is desired and of receiving something unwanted. The researcher presented how she eliminated personal fears consistent with the belief systems passed on through the generations by adopting the symbols of spider webs and gems. Spider webs are a symbol of catching desired things and represent protective power. This is because spider webs are believed to be auspicious. Physically, the web is a safe place to live and also a trap. In terms of form, the web has a free form and is ready to be changed into any other form depending on the object to which it is woven to attach. As for gems, they symbolize the researcher’s objects of desire as they are believed to have the magical power to bring happiness, prosperity and wealth. For all these reasons, the forms of spider webs and gems were employed to create the mixed media paintings. Based on Objectivism, which holds that beauty is a property of an object, lines and crystals were drawn and attached one by one. Therefore, the work consists of lines, dots and colors, making it a semi-abstract work. The beauty of the work was created using colors which coexist harmoniously with delicate lines and the glittering effect of crystals. Seeing the final product brought a sense of happiness to the researcher. Moreover, it was found that the process of creating a work of art was an advanced form of self-therapy as it has therapeutic value. It also has an aesthetic effect, causing people to temporarily forget their daily lives and appreciate and indulge in pleasure. Creating the work made the researcher feel relaxed and revitalized and ready to face fear and problems confidently.


SUBJECT

  1. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
  2. Mixed media painting
  3. Fear in art
  4. Fear -- Symbolic aspects
  5. Semiotics -- Thailand
  6. จิตรกรรมสื่อผสม
  7. ความกลัวในแง่ศิลปะ
  8. ความกลัว -- แง่สัญลักษณ์
  9. สัญศาสตร์ -- ไทย

LOCATIONCALL#STATUS
Fine & Applied Arts Library : DFA ThesisR ว.พ. ส293จ 2554 LIB USE ONLY