Authorอติพล ศุภธนะอนันต์
Titleการศึกษาถึงกลยุทธ์การบริหารสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กรณีศึกษา : ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง / อติพล ศุภธนะอนันต์ =Strategy for non-performing loans management case study of a Commercial Bank” / Atiphol Subhadhana-anant
Imprint 2555
Descript ก-ฎ: 198 แผ่น, ตาราง

SUMMARY

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อกำหนดกลยุทธ์การบริหารสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง โดยพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานของธนาคาร สาเหตุที่ทำให้เกิด NPLs และการตัดหนี้สูญ รวมทั้งกลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไข NPLs การวิเคราะห์ข้อมูล NPLs และการติดตามหนี้สูญรับคืนของธนาคารที่มีอยู่ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา NPLs และการติดตามหนี้สูญรับคืน โดยวิธีวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง รวมทั้งการวิเคราะห์หน้าที่งาน จากการศึกษาพบว่าควรนำจุดแข็งของธนาคารและโอกาสจากภายนอกมาร่วมกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการป้องกันและลด NPLs และติดตามหนี้สูญรับคืน รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของธนาคารควบคู่กันไปด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้มี NPLs รายใหม่เกิดขึ้นเกินกว่าระดับที่ธนาคารยอมรับได้ ผู้ศึกษาได้เสนอแนะกลยุทธ์ในการติดตามแก้ไขหนี้ NPLs ให้ธนาคารมีทางเลือกในการกำหนดกลยุทธ์เพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ได้แก่ การป้องกันปัญหาหนี้ NPLs โดยการติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มค้างชำระโดยเฉพาะลูกหนี้ที่ให้สินเชื่อตั้งแต่ปี 2548 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยใช้มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ การกำหนดเป้าหมายการติดตามหนี้สูญรับคืนและการลด NPLs ให้สอดคล้องกันโดยให้คะแนนความสำคัญที่เหมาะสมและจูงใจยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์ผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้น สรุปได้ว่าการดำเนินการตามกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานที่นำเสนอ (Action Plan) จะทำให้ธนาคารสามารถป้องกัน NPLs ที่จะเกิดขึ้นใหม่ในปี 2555 ได้ และสามารถติดตามหนี้สูญรับคืนได้เป็นมูลค่ากว่า 2,047 ล้านบาท ซึ่งเห็นว่ามีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับประมาณการผลประกอบการของธนาคาร
The purpose of this research is to define the strategy of managing the Non-Performing Loans (NPLs) of a bank. This research applied basic information of the bank, the causes of NPLs and writing off, existing preventive and corrective strategies for NPLs, NPLs data and bad debt recovery data in order to find the new way for strategic analysis in terms of prevention and correction NPLs and following bad debt recovery. The study adopted SWOT Analysis and Function Analysis. The study finds that a bank’s strengths and opportunities from SWOT analysis should be considered to formulate the strategy to reduce NPLs and follow bad debt recovery. Whereas, the bank’s weakness should simultaneously corrected to prevent existing of new NPLs over the acceptable level. The researcher proposed the strategy to follow NPLs for the bank in order to formulate more effective strategies as follows: 1.) prevention existing of NPLs by following behindhand debtors early, especially loans issued since 2005 2.) debt restructuring by adopting the government’s policy 3.) defining objectives, following bad debt recovery, and reducing NPLs cooperatively by paying attention to more appropriateness and incentive. To conclude, implementing the above strategies and the action plan will be able to help this bank protect new NPLs and attain bad debt recovery approximately 2,047 million bahts in accordance with a bank’s forecast its turnover.


SUBJECT

  1. สินเชื่อ -- การบริหาร
  2. สินเชื่อ -- ธนาคารพาณิชย์

LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project52830942 LIB USE ONLY