Authorธวัลรัตน์ ศรีวิลาศ
Titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในพระภิกษุสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร / ธวัลรัตน์ ศรีวิลาศ = Factors related to depression among elderly monks in Bangkok Metropolis / Tawanrat Sriwilas
Imprint 2553
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32403
Descript ก-ฎ, 125 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของพระภิกษุสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลจากพระภิกษุสูงอายุ จำนวน 214 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากวัดในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย TMSE (Thai Mental State Examination) ของ กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง และ 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS (Thai Geriatric Depression Scale) ของ กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi – square test, t -test, One way ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient เพื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ และใช้ Multiple Linear Regression Analysis หาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าในพระภิกษุสูงอายุ ร้อยละ 12.1 สถานภาพสมรสโสด มีโรคประจำตัว และรายได้ 500 บาทขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 อายุที่เริ่มบวชน้อยกว่า 50 ปี มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ พระภิกษุสูงอายุที่มีอายุ 70 – 74 ปี มีจำนวนพรรษามาก สถานภาพเป็นเจ้าอาวาสวัด และมีระดับการศึกษาปริยัติแผนกธรรมชั้นนักธรรมศึกษาเอก มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าคะแนนภาวะซึมเศร้าและคะแนนทดสอบสมรรถภาพสมองมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The purpose of this cross-sectional descriptive study was to study depression and related factors of depression in elderly monks, Bangkok metropolis. Two hundreds fourteen in Bangkok Metropolis were recruited by a multi-stage random sampling technique. The instruments consisted of three following parts; 1) socio-demographic questionnaire, 2) Thai Mental State Examination (TMSE)’s Train The Brain Forum Committee 3) Thai Geriatric Depression Scale (TGDS)’s Train The Brain Forum Committee. Data were analyzed using descriptive statistics, Percentage, Mean, standard deviation, Chi-square, t-test, one-way ANOVA, Pearson's product moment correlation coefficient and multiple linear regression analysis for explained demographic data, correlation and predictor of depression in the elderly monks. The results revealed that prevalence of depression was 12.1.Among the various demographic Data, marital status single, the presence of physically illness, income (over 500 bath) being consultant were correlated with depression at the 0.001 level age of ordain (less than 50 years old) was correlated with depression at the 0.01 level and age (70 – 74 years old), Phansa, status in the temple and education of dharma (Dharma-Ek) were correlated with depression at the 0.05 level. Significant negative relationship was found between Thai Mental State Examination scores and depression scores at the 0.01 level.


SUBJECT

  1. สงฆ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
  2. ความซึมเศร้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
  3. ความซึมเศร้าในวัยสูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
  4. Buddhist monks -- Thailand -- Bangkok
  5. Depression
  6. Mental -- Thailand -- Bangkok
  7. Depression in old age -- Thailand -- Bangkok

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis531702 LIB USE ONLY
Medicine Library : Thesisธ391ป 2553 CHECK SHELVES