Authorนรชัย วงศ์กรเชาวลิต
Titleคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปราศจากยิปซัมโดยผสมโพลีคาร์บอกซีเลตซุปเปอร์พลาสติไซเซอร์เพื่อใช้เป็นวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในโดยตรง / นรชัย วงศ์กรเชาวลิต = The physical properties of portland cement without gypsum mixed with polycarboxylate superplasticizer for using as a direct pulp capping material / Norachai Wongkornchaowalit
Imprint 2553
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33115
Descript ก-ญ, 141 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของสารละลายโพลีคาร์บอกซีเลตซุปเปอร์-พลาสติไซเซอร์ ต่อเวลาการแข็งตัวและคุณสมบัติการไหลแผ่ของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปราศจากยิปซัม รวมถึงทำการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพในแง่ของเวลาการแข็งตัว ความทนแรงอัด อุณหภูมิและ ค่าความเป็นกรด-ด่างขณะวัสดุแข็งตัว การปนเปื้อนของโลหะหนัก การกระจายของขนาดอนุภาคและองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุดังกล่าว กับพอร์ตแลนด์ซีเมนต์และโปรรูทเอ็มทีเอผสมน้ำกลั่น ทำการวิเคราะห์ผลความแตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p<0.05) ผลการศึกษาพบว่าพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปราศจากยิปซัมมีเวลาการแข็งตัว 7.03 ± 0.44 นาที ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มเอ็มทีเอและพอร์ตแลนด์ซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่มีความทนแรงอัดในวันที่ 21 และการกระจายตัวของขนาดอนุภาคไม่แตกต่างจากเอ็มทีเอ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปราศจากยิปซัมมีค่าพีเอช(10.96) ต่ำกว่าเอ็มทีเอ(12.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในนาทีที่ 60 ส่วนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิขณะวัสดุแข็งตัวเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย (น้อยกว่า 1 องศาเซลเซียส)ในทุกกลุ่มการทดลอง ทั้งนี้พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปราศจากยิปซัมมีองค์ประกอบทางเคมีหลักและปริมาณโลหะหนักในวัสดุใกล้เคียงกับเอ็มทีเอ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปราศจากยิปซัมเมื่อผสมสารละลายโพลีคาร์บอกซีเลต-ซุปเปอร์พลาสติไซเซอร์จะเป็นวัสดุที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นสารปิดทับเนื้อเยื่อในโดยตรงได้
The purposes of this study were to investigate the effect of polycarboxylate superplasticizer on setting time and flow characteristic of white Portland cement without gypsum (AWPC), as well as, to compare the chemical compositions and physical properties of AWPC with ordinary white Portland cement (OWPC) and ProRoot MTA mixed with distilled water, in terms of net setting time, compressive strength, temperature and pH during setting, heavy metals contamination, particle size distribution and chemical compositions. The data were statistically analyzed at 0.05 level of confidence. The results showed that the setting time of AWPC were in the range of 7.03 ± 0.44 minutes which was significantly (p<0.001) lower than MTA and OWPC groups. The compressive strength of AWPC at 21 days and particle size distribution were not different from MTA. The pH value of AWPC (10.96) was significant lower than MTA (12.00) at 60 minutes (p<0.05). Temperature change during setting of all groups were less than 1 degree Celsius. The major chemical compositions and the amounts of heavy metal of AWPC were similar to MTA. The results indicate that AWPC is a potential material which can be developed as a direct pulp capping material.


SUBJECT

  1. ซีเมนต์ทางทันตกรรม
  2. พอร์ซเลนทางทันตกรรม
  3. พลาสติไซเซอร์
  4. เนื้อเยื่อฟัน
  5. Dental cements
  6. Dental ceramics
  7. Plasticizers
  8. Dental pulp
  9. Portland cement
  10. Dental Cements
  11. Silicates
  12. Calcium Sulfate
  13. Plasticizers
  14. Polycarboxylate Cement
  15. Physicochemical Phenomena
  16. Mineral Trioxide Aggregate

LOCATIONCALL#STATUS
Dentistry Library : Thesisวิทยานิพนธ์ LIB USE ONLY
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis531928 LIB USE ONLY