Authorภัททิรา อยู่ยืนยง
Titleพฤติกรรมการฝึกโยคะและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการเลือกใช้บริการสถานฝึกโยคะในเขตกรุงเทพมหานคร / ภัททิรา อยู่ยืนยง=Yoga behaviors and marketing mix factors affecting consumer selection of Yoga Centers in Bangkok Area / Pattira Youyuenyong
Imprint 2555
Descript ก-ด: 136 แผ่น, ตาราง

SUMMARY

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการฝึกโยคะ และการให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดในการเลือกใช้บริการสถานฝึกโยคะของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยจำนวน 300 ตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าผู้ฝึกโยคะส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ส่วนใหญ่โสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 20,001-30,000 บาท ในส่วนพฤติกรรมการฝึกโยคะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เลือกฝึกโยคะธรรมดาเพื่อความแข็งแรงและยืดหยุ่น มักฝึกโยคะช่วงเวลา 18.00น.เป็นต้นไป ฝึกโยคะมากกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง สำหรับเหตุผล 4 อันดับสูงสุดที่กลุ่มตัวอย่างเลือกฝึกโยคะ ได้แก่ เพื่อต้องการลดน้ำหนัก/ดูแลรูปร่าง เพื่อให้สุขภาพจิตดี มีสมาธิ ความจำ เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี และเพื่อให้ผิวพรรณเปล่งสดใส ล้างพิษในร่างกาย ด้านบุคคลที่เป็นแรงจูงใจในการฝึกโยคะ พบว่า ได้รับแรงจูงใจจากเพื่อนและคนในครอบครัว และส่วนใหญ่ฝึกโยคะที่ฟิตเนส/ ศูนย์ออกกำลังกาย และโยคะสตูดิโอ นอกจากนี้ผู้บริโภคมีการให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการสถานฝึกโยคะด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับมากในอีก 6 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฝึกโยคะ และผู้บริโภคที่จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ มีการให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพที่มีการให้ความสำคัญไม่แตกต่างกัน
This Survey research purposes to study Yoga Behaviors and Marketing Mix Strategies affecting Consumer Selection of Yoga Centers in Bangkok Area. Structured questionnaires were used as a tool of the studying by non-probability sampling with 300 samples. It has found that Major practitioners are women aging between 21-30 year old, holding bachelor degree with a career as a private staff and average monthly income about 20,001- 30,000 baht. For the yoga behavior of these people, it’s found that most of the practitioners practice Yoga for strength and flexibility at 18.00 am onwards, with mostly three times per week. According to reason of practicing Yoga for four highest ranking are losing weight / keeping good shape, mediation for mental wellness and memory, good personality and last for detoxification. Most of the yoga practitioner has been invited from friends and families and fitness center and yoga studio are the most popular place for Yoga practice. In addition, consumers take Physical Evidence of marketing mix as the most important determinant in selection Yoga center while taking the other six marketing mixes which are (1) products and services, (2) price, (3) distribution channels, (4) promotion, (5) people and (6) process as the supplementary factors. Furthermore we have found that demographic factors are associated with yoga behavior. Also consumers identified by demographic characteristics pay attention to different marketing mixes except for the physical evidence.


SUBJECT

  1. โยคะ(กายบริหาร) -- การฝึก

LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project53818598 LIB USE ONLY