Authorกิตติ ต.รุ่งเรือง
Titleการศึกษาปริมาณของแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์อักเสบบางชนิดในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกของผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ / กิตติ ต.รุ่งเรือง
Imprint กรุงเทพฯ : คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Descript vii, 18 แผ่น ; 30 ซม

SUMMARY

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาปริมาณของแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์อักเสบ 3 ชนิด ได้แก่ Aggregatibacter actinomycetemcomitans, Porphyromonas gingivalis และ Tannerella forsythia ในผู้ที่สูบบุหรี่ เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ในกลุ่มพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย ผู้ที่สูบบุหรี่จำนวน 244 คน และผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่จำนวน 244 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 41 ถึง 60 ปี อายุเฉลี่ย 48.2±4.4 ปี การตรวจหาปริมาณของเชื้อทั้ง 3 ชนิดในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก ทำโดยใช้วิธีเรียลไทม์พีซีอาร์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่ มีความชุกและปริมาณของ P.gingivalis ในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการทำ logistic regression analysis พบว่าหลังจากการปรับตัวแปรรบกวน คือการเป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้ว คนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการตรวจพบเชื้อ P.gingivalis เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 เท่า เมื่อเปรียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่และการตรวจพบเชื้อก่อโรคปริทันต์อักเสบ เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อทำ subgroup analysis ในคนที่ไม่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยพบว่าในคนกลุ่มนี้ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการตรวจพบเชื้อ P.gingivalis และ T. forsythia เป็น 2.4 เท่า และ 2.1 เท่า ตามลำดับ ผลที่ได้จากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงผลของการสูบบุหรี่ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในกลไกที่ทำให้คนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบสูงกว่าคนที่ไม่สูบ
The objective of this study was to examine the quantity of three periodontal pathogens, including Aggregatibacter actinomycetemcomitans, Porphyromonas gingivalis and Tannerella forsythia, between smokers and non-smokers in the Electrical Generating Authority of Thailand. The study participants included 244 smokers and 244 non-smokers. All of them were male, aged 41-60 years old (average 48.2±4.4). The quantitative analysis of periodontal pathogens was performed using real-time PCR. The results showed that smokers had significantly higher prevalence and quantity of P.gingivalis in subgingival plaque than non-smokers. Logistic regression analysis showed that after adjusting for periodontitis, smokers were 1.6 times more likely to harbor P. gingivalis than non-smokers. The relationship between smoking and periodontal pathogens was more evident in the subgroup analysis of non-periodontitis subjects. In this subgroup, smokers had an increased risk for having P. gingivalis and T. forsythia by 2.4 times and 2.1 times, respectively. We conclude that smoking significantly affects the microbial composition of subgingival plaque, which could consequently contribute to an increased risk for periodontitis in smokers.


SUBJECT

  1. โรคปริทันต์อักเสบ
  2. จุลินทรีย์
  3. แบคทีเรีย

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Chula Collection[CU-B] ท 15 015551 LIB USE ONLY