Authorจรวยพร วงศ์ขจิต
Titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง / จรวยพร วงศ์ขจิต = Factors related to eating behavior in stroke patients / Charuayporn Wongkachit
Imprint 2554
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26430
Descript ก-ญ, 168 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้กรอบแนวคิดของรอย ศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง นาน 1 เดือน-1 ปี จำนวน 121 คนที่มารับการรักษาในคลินิกอายุรกรรมประสาทหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลราชวิถี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการกลืนทางคลินิก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการพึ่งพาตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.85, 0.94, 0.94, 0.97 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารหมวดไขมัน อยู่ในระดับดีมาก ( X = 24.64) หมวดข้าว-แป้ง-น้ำตาล หมวดเนื้อสัตว์ หมวดผักผลไม้ และหมวดเครื่องปรุงรส อยู่ในระดับดี ( X =14.95 , X = 23.70, X = 25.24 และ X = 10.94 ตามลำดับ ) และหมวดเครื่องดื่มอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3 ) 2. ภาวะกลืนลำบาก ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3. ความรุนแรงของโรคและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 (r =- .20 และr =- .48ตามลำดับ) 4. สัมพันธภาพในครอบครัวและการพึ่งพาตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0 .05 (r =.42 และr = .28 ตามลำดับ)
This study was a correlation study. The objectives of this research were to study the eating behavior and the factors related to eating behavior in stroke patients according to Roy’s framework. The study enrolled 121 patients who had been diagnosed as stroke for 1 to 12 months at neurology outpatient department of King Chulalongkorn Memorial Hospital, Phramongkutklao Hospital, and Rajavithi Hospital. The instuments for data collection included a demographic data form, assessment form of clinical swallowing, and data were collected by self adminited questionnaires including patients’depression, family relationship, patients’ self-dependence, and the eating behavior. Questionnaires were tested for reliability and Cronbach’ s alpha coefficient was 0.85, 0.94, 0.94, 0.97 and 0.84, respectively. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The major finding were as follow: 1. The stroke patients had eating behavior very good level in fat group ( X =24.64), good level in starch, meat, fruit and vegetable, and seasoning group (X =14.95, X =23.70, X = 25.24, and X =10.94 respectively), and medium level in beverage group ( X =3) 2. Dysphagia was not related to the eating behavior in stroke patients 3. Severity of stroke disease and depression had significant negative correlation with the eating behavior in stroke patients. (r = -.20 and r = .48 respectively; p = 0.05) 4. Family relationship and self-dependence had significant positive correlation with the eating behavior in stroke patients (r = .42 and r = .28 respectively; p = 0.05)


SUBJECT

  1. โรคหลอดเลือดสมอง
  2. โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
  3. พฤติกรรมสุขภาพ
  4. การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย
  5. Cerebrovascular disease
  6. Cerebrovascular disease -- Patients
  7. Health behavior
  8. Cookery for the sick