Authorสุจิตราภรณ์ พิมพ์โพธิ์
Titleความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดำเนินชีวิต การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มอาการ และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน / สุจิตราภรณ์ พิมพ์โพธิ์ = Relationships among life style, social support, symptom clusters, and depression in adult patients with acute myocardial infarction / Sujitraporn Pimpo
Imprint 2554
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23036
Descript ก-ญ, 158 แผ่น

SUMMARY

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดำเนินชีวิต การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มอาการ และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 90 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินแบบแผนการดำเนินชีวิต แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินกลุ่มอาการ และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินได้เท่ากับ .71, .94, .92, .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะซึมเศร้าเฉลี่ยโดยรวมของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.12 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.77) 2. แบบแผนการดำเนินชีวิตและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผู้ใหญ่ ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (r = -.374 และ - .300 ตามลำดับ) 3. กลุ่มอาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผู้ใหญ่ ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (r = .701)
To study the depression in adult patients with acute myocardial infarction and the relationships between life style, social support, symptom clusters and depression in adult patients with acute myocardial infarction. The subjects were 90 out-patients with acute coronary syndromes at coronary clinics at Bhuddasothorn Hospital, and Prapokklao Hospital, selected by a multi-stage sampling. The instruments used for data collection were the Dermographic Data Form, Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D), the Health-Promotion Lifestyle Profile: II (HPLP:II), ENCRICH Support Questionnaire, and Cardiac Symptom Survey (CSS ). The instruments were tested for their content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .71, .94, .92, and.89, respectively. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation and Pearson’s product-moment correlation at the significant level of .05. The major findings were as follows : 1. Mean of depression scores in adult patients with acute myocardial infarction indicating depression with mean scores equal to 16.12 ( SD=6.77). 2. There were negatively statistical correlation between life style, social support, and depression in adult patients with acute myocardial infarction at the level of .01 (r =-.374 and -.300 , respectively). 3. There were positively statistical correlation between symptom clusters and depression in adult patients with acute myocardial infarction at the level of .01 (r = .701).


SUBJECT

  1. กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย
  2. ความซึมเศร้า
  3. รูปแบบการดำเนินชีวิต
  4. Myocardial infarction -- Patients
  5. Depression
  6. Mental
  7. Lifestyles