Authorอตินุช อสีปัญญา
Titleโลกาภิวัตน์ของประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในนิตยสารผู้หญิง / อตินุช อสีปัญญา = Globalization of environmental issues in woman’s magazines / Atinuch Asipanya
Imprint 2554
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22972
Descript ก-ต, 239 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสิ่งแวดล้อมที่ปรากฎในนิตยสารผู้หญิง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเสนอและรูปแบบของโลกาภิวัตน์ทางการสื่อสาร โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนิตยสารผู้หญิงจำนวน 4 ฉบับ แบ่งเป็นนิตยสารหัวนอกคือ นิตยสารแมรี แคลร์ และนิตยสารมาดาม ฟิกาโร และนิตยสารหัวใน คือนิตยสารกุลสตรี และนิตยสารสุดสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. นิตยสารผู้หญิงหัวนอกและนิตยสารผู้หญิงหัวใน มีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบของการผลิต โดยนิตยสารหัวนอกจะได้รับข้อมูลจากนิตยสารต้นฉบับ เพื่อนำมาแปลเป็นภาษาไทย ส่วนนิตยสารหัวใน เนื้อหาสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในเล่ม จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นเองโดยนักเขียนประจำกองบรรณาธิการ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเสนอเนื้อหาสิ่งแวดล้อมของนิตยสารทั้ง 4 ฉบับคือ นโยบายองค์กร นโยบายเนื้อหาของกองบรรณาธิการ การวางตัวเองของนิตยสาร และแหล่งที่มาของเนื้อหา 3. นิตยสารผู้หญิง 3 ฉบับ คือแมรี แคลร์, มาดาม ฟิกาโร และกุลสตรี มีรูปแบบของโลกาภิวัตน์ทางการสื่อสารที่ไม่แตกต่างกัน คือมีรูปแบบทางการสื่อสารแบบโลกาภิวัตน์ (Globalization) ผสมผสานกับการทำให้เป็นท้องถิ่น (Localization) ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ในขณะที่นิตยสารสุดสัปดาห์ มีรูปแบบทางการสื่อสารแบบทำให้เป็นท้องถิ่น (Localization) มากกว่ารูปแบบทางการสื่อสารประเภทอื่นๆ ส่วนรูปแบบทางการสื่อสารแบบโลกาเทศาภิวัตน์ (Glocalization) มีปรากฎน้อยที่สุดในจำนวนรูปแบบทางการสื่อสารทั้งหมด
This qualitative research has the objective to study the following : the form and content of environmental issues in woman’s magazines, the factors that effects them and their communication patterns. The studied magazines include International magazines (Marie Claire magazine and madame FIGARO magazine) and Thai magazines (Kullasatree magazine and Sudsabdah magazine). The research has these findings : 1. The content and the form of environmental issues in International magazines and Thai magazines are different in the point of their sources. The sources of International magazines come from their original contents while Thai magazines have to find their own contents. 2. The factors that affect the environmental contents in woman magazines are the organizational policy, editorial policy, the positioning of the magazines and their sources. 3. The communication patterns in Marie Claire, madame FIGARO and Kullasatree Magazines are not different. The communication patterns of them are integrated between globalization and localization but in Sudsubdah magazine, the localization is the most communication patterns that appear in the contents. Glocalization is the least communication pattern that appears in every magazines.


SUBJECT

  1. โลกาภิวัตน์
  2. สิ่งแวดล้อม
  3. สื่อมวลชนกับสิ่งแวดล้อม
  4. วารสารสำหรับสตรี
  5. Globalization
  6. Environment
  7. Mass media and the environment
  8. Women's periodicals

LOCATIONCALL#STATUS
Communication Arts Library : Thesis3089 2554 CHECK SHELVES