Authorธนพล ถาวรศิลป์
Titleแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว / ธนพล ถาวรศิลป์ = Guidelines for tourism development of Sakaeo Province / Thanapol Thavornsin
Imprint 2552
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19396
Descript ก-ฏ, 199 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในด้านความพร้อมขององค์ประกอบการท่องเที่ยวของจังหวัดสระแก้ว เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในด้านความพร้อมของ องค์ประกอบการท่องเที่ยวตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และเสนอแนวทางในการ พัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว โดยผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.96 ไปเก็บ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และนำแบบสัมภาษณ์ไปสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยว จังหวัดสระแก้ว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 8 ท่าน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบค่า “ที” ( t-test) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างนักท่องเที่ยวเพศชายกับเพศหญิง วิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างนักท่องเที่ยวที่มี อายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ แตกต่างกัน และทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 219 คนและเพศชายจำนวน 181 คน มีอายุระหว่าง 25-34 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ รับจ้างทั่วไป มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว 1 - 2 ครั้ง มากับครอบครัวหรือญาติ ด้วยรถยนต์ส่วนตัว เพื่อท่องเที่ยว ทราบข้อมูล การท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วจากเพื่อน/ญาติ ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว 1 วัน ไม่พักค้างคืน ถ้าค้างคืนจะ พักที่บ้านญาติ/บ้านเพื่อน นักท่องเที่ยวส่วนมากเคยมาและสนใจท่องเที่ยวที่ตลาดโรงเกลือ มีความประทับใจในการมา ท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วคือแหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจ
2. นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมองค์ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วอยู่ในระดับมากทุกข้อ ตามลำดับ ได้แก่ 1) แหล่งท่องเที่ยว ( X =3.08) 2) การคมนาคมขนส่ง ( X =3.01) 3) สินค้าของที่ระลึก( X =2.91) 4) ที่พักโรงแรม ( X =2.90) 5) เทศกาลพิเศษความบันเทิง( X =2.89) 6) การอำนวยความสะดวกเข้าออกเมือง ( X =2.87) 7) การบริการ อื่นๆ แก่นักท่องเที่ยว ( X =2.84) 8) ร้านอาหาร ภัตตาคาร ( X =2.82) 9) ความปลอดภัย ( X =2.74) 10) ธุรกิจนำเที่ยวและ มัคคุเทศก์ ( X =2.73) 3. นักท่องเที่ยวเพศชายและหญิงมีความคิดเห็นในด้านความพร้อมขององค์ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัด สระแก้วไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05 นักท่องเที่ยวที่มีอายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ต่างกันมีความคิดเห็น ในด้านความพร้อมขององค์ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05 4. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการท่องเที่ยว จังหวัดสระแก้วพบว่า 1) ภาครัฐ เอกชน และชุมชน ควรร่วมกันในการบริหารจัดการ เพื่อการเชื่อมโยงให้เป็นเครือข่ายการ ท่องเที่ยว 2) ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ 3) มีการพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการท่องเที่ยว 4) ควรพัฒนาเส้นทางใหม่สำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว 5) ควรพัฒนาส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วให้มีหลายรูปแบบ 6) ควรพัฒนาบุคลากรด้านการ ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 7) ควรจัดตั้งกองทุนพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดสระแก้วขึ้น
The purposes of this research were, to study tourists’t behaviors and opinions on the preparedness of tourism elements of Sakaeo Province and to compare the tourists’ opinions on the preparedness of the tourism elements classified by personal status and to propose guidelines for tourism development of Sakaeo Province. Self – constructed questionnaire were sent to collect data from 400 respondents. In addition, the in-depth interview was used to gather data from 8 specialists who involved in the tourism development of Sakaeo Province, in both governmental and private sectors. Data were analyzed in term of means, standard devation ,and t-test was also applied to compare the opinions between male and female tourists as well as One way ANOVA and Scheffe’s method were also used to compare the opinions classified by age, occupation, education and income groups. The results were as followed: 1. The respondents were male(N=181) and female(N=219), with various educational backgrounds, private company officers, monthly income was below 10,000 Bath,ever travelled to Sakaeo Province for 1-2 times, came with family/relatives, acquiring tourism information from friends/relatives, either one day trip or stayed overnight with relatives, and the attractive tourism place was Rong Kleur market. 2. Tourism opinions on the preparedness of tourism components were perceived at the high level in all aspects as the follow: Tourism attraction ( X =3.08); Transportation ( X =3.01); Souvenir Shopping ( X =2.91); Accommodation ( X =2.90); Special Events and Entertainment ( X =2.89); Immigration and Protocol ( X =2.87); Tourist Service ( X =2.84); Food Restaurant ( X =2.82); Safety( X =2.74); and Tourism Guide Business ( X =2.73). 3. There were significant differences at .05 of the opinions classified by gender as well as there were also significant differences of tourism factors and income at .05 level when classified by age groups. 4. Guidelines for tourism development of Sakaeo Province form in-depth interview were reported as follow: 4.1 The governmental, private, and community sectors should have the management cooperation for tourism network 4.2 Tourism places and recreational activities should be developed. 4.3 Tourism infrastructor should be developed to provide more tourism comfort. 4.4 New tourism route should be discovered. 4.5 Multi dimensions of public relations should be promoted. 4.6 Tourism personnel should be trained more to give better services to the tourists. 4.7 Tourism Foundation of Sakaeo Province should be established.


SUBJECT

  1. การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว
  2. การท่องเที่ยว -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย -- สระแก้ว
  3. สระแก้ว -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
  4. Travel -- Economic aspects -- Thailand -- Sakaeo
  5. Sakaeo -- Description and travel

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis522029 LIB USE ONLY