Authorสุเทพ พันประสิทธิ์
Titleการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย : สรุปย่อสำหรับผู้บริหาร โครงการวิจัยเรื่อง = The study for the development of Thai labor's life quality in Malaysia / สุเทพ พันประสิทธิ์, วรุณพันธ์ คงสม, ชนาธิป มิธิดา
Imprint กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2552
Descript [4], 13 แผ่น ; 30 ซม.

SUMMARY

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการประกอบกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในมาเลเซียอันได้แก่ รายได้ การ ประกอบอาชีพ การบริโภค และการส่งรายได้กลับมาประเทศไทย 2) เพื่อสำรวจ ความพึงพอใจและความต้องการของแรงงานไทยที่มีต่อสภาพการทำงานในสถาน ประกอบการในประเทศมาเลเซีย 3) เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิตโดยจัดทำดัชนี คุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในมาเลเซียในแต่ละด้านๆ ได้แก่ การมีสุขภาพดี สภาพ ที่อยู่อาศัยเหมาะสมสะดวกสบาย ความพอเพียงของรายได้และสิ่งแวดล้อม การทำงานมีความมั่นคงปลอดภัย 4) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของ แรงงานไทยที่เข้าไปทำงานในมาเลเซียโดยทำการศึกษาเอกสารต่างๆ เช่น สถิติข้อมูล ของสำนักงานแรงงานไทยในมาเลเซีย และศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของ แรงงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิต จากกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มอาชีพ แม่บ้าน ก่อสร้าง เกษตรเพาะปลูก อุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจบริการจำนวน 417 ตัวอย่าง ประกอบกับการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เกี่ยวข้องได้แก่สำนักงานแรงงาน ไทยในมาเลเซีย แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วย ANOVA, Regression Analysis และความ คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการทำงานด้วย NPV วิเคราะห์คุณภาพชีวิตด้วยแบบวัดของ WHO ฉบับย่อ เพื่อหาแนวทางการตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับภาครัฐและเอกชนใน การพัฒนาตลาดแรงงาน คุณภาพชีวิตและการทำงานของแรงงานไทยในมาเลเซีย ผลการวิจัยพบว่าในปัจจุบัน สาขาอาชีพที่แรงงานไทยย้ายถิ่นไปทำงานใน มาเลเซียได้แก่ ภาคธุรกิจบริการ ได้ประเภทร้านอาหาร โดยเข้ามาทำงานเป็น พ่อครัว/แม่ครัว และที่มีนายจ้างติดต่อแจ้งความต้องการอย่างต่อเนื่องและเริ่มทยอย เข้ามาก็คือพนักงานกายภาพ บำบัด (นวดแผนไทย) สำหรับสาขาอื่นๆ คือ ก่อสร้าง คนงานที่เข้าทำงานเป็นการจ้างโดยบริษัทต่างชาติซึ่งได้รับสัมปทาน ซึ่งให้ค่าตอบแทน ดีกว่าและไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเข้าทำงาน ส่วนภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีอยู่ ประปรายและเป็นกลุ่มแรงงานที่แจ้งการเดินทางเข้ามาเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการ เข้าทำงาน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ที่ได้รับ กับค่าหัวเดินทาง เข้าไปทำงาน ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต และ เงินส่งกลับประเทศไทยพบว่ามีความ สัมพันธ์สูงในระดับ 0.851 ระหว่างรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ค่าหัวการเข้าไปทำงานใน ประเทศมาเลเซีย ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในประเทศมาเลเซีย และเงินส่งกลับ ประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าทุกกลุ่มอาชีพมีความ คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และกลุ่มอาชีพพนักงานธุรกิจบริการมีค่าของมูลค่าปัจจุบันของ เงินและอัตราผลตอบแทนภายในสูงที่สุด ประกอบกับสถานการณ์ตลาดแรงงานไทยใน มาเลเซียอาชีพลักษณะงานดังกล่าวยังมีความต้องการอีกมาก โดยเฉพาะตลาด แรงงานร้านอาหารไทยในมาเลเซียกำลังเติบโต ทางด้านคุณภาพชีวิตโดยรวมแรงงาน มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลางโดยที่แรงงานที่เข้าไปทำงานโดยถูกต้องมีคุณภาพชีวิต สูงกว่าผู้ลักลอบเข้าไปทำงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่การพัฒนาด้านความรู้ ขั้นพื้นฐานควรสนับสนุนและให้โอกาสแรงงานได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งในระบบและนอกระบบ การศึกษา การได้รับข่าวสารข้อมูลสม่ำเสมอ การพัฒนาด้านการเพิ่มพูนทักษะ ทางอาชีพควบคู่กับการใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ การตั้งกองทุน เพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ จัด Road Show เพื่อการขยาย ตลาดแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย การสร้างตลาดแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย ให้เป็น Malaysia Model
Abstract The research purposes are (1) To analyze the economic characteristic activities and Thai worker conditions in Malaysia as personal income, living conditions and the quantity of sending money back home. (2) To survey the satisfaction and the need for Thai workers in Malaysia. (3) To assess the quality of life index of Thai workers on health condition, living condition, convenience, sufficient income and environment working stability. (4) To analyze the problems and the needs for Thai workers in Malaysia by studying various documents as statistical data of Thai labor office in Malaysia and to study Thai worker behaviors and opinions on work and quality of life from household group, constructional group, agricultural group, production industry and servicing businesses. The total of 417 samples were consisted of In-depth interview of Key informants such as Thai worker officers in Malaysia. Data were analyzed by ANOVA and Regression Analysis. The economic value of work by NPV. The life quality analysis was by WHO handbook for the suggestion of the allocation of the laboring market development in order to support government sectors and private organizations. It was uncovered that the desirable professions in Malaysia are in servicing sectors as cooks in the restaurants and as massagers in Thai massage services. The others are construction workers in international corporations under the government contract and as independent workers in production industries for better wages because of no commission fee. The correlation coefficient of the income and commission at 0.05 level. It reflects economics worth for working in Malaysia especially the servicing sector gives the most benefit in economic return. Thai labor market in Malaysia has been in demand especially in restaurant businesses but the quality of life is rather in moderate condition and legal workers are in better shape than illegal ones. In order to build up Thai worker market in Malaysia as Malaysia model, the Thai worker development is needed in these areas as basic knowledge, international language, information technology professional skills, international working fund and road shows.


SUBJECT

  1. แรงงานต่างด้าวไทย -- มาเลเซีย
  2. คุณภาพชีวิตการทำงาน

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)331.62593 ส781ก CHECK SHELVES