SUMMARY
การกระจายตัวในแนวดิ่งของโอโซนถือเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจติดตามชั้นโอโซนในบรรยากาศสามารถทำการตรวจวัดได้โดย โอโซนซอนด์ ด็อปสันสเปคโตรโฟดตมิเตอร์รือบรูเวอร์สเปคโตรโฟโต มิเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจวัดภาคพื้นดิน และการตรวจวัดโดยดาวเทียม เพื่อที่จะหาค่าการกระจายตัว ของแนวดิ่งของโอโซนเหนือบริเวณสงขลา การตรวจวัดแบบอินเคอร์เครื่องมือบรูเวอร์สันสเปคโตรโฟโต มิเตอร์ หมายเลข 120 ของกลมอุตุนิยมวิทยา จึงถูกนำมาใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 และใช้ซอร์ฟ แวร์จากศูนย์ข้อมูลโอโซนโลกที่ถูกพัฒนาในปี พ.ศ. 2535 สำหรับการศึกษานี้ แบบจำลองเชิงถดถอยที่สร้างขึ้นมีพื้นฐานจากวิธีการของวอลตันในปี พ.ศ. 2502 เพื่อใช้คำนวณ ค่าการกระจายตัวในแนวดิ่งของโอโซนอย่างง่ายจากข้อมูลโอโซนรวมสำหรับในวันที่ไม่สามารถตรวจวัด แบบอัมเคอร์ได้ ผลจากการคำนวณโดยใช้ซอร์ฟแวร์และแบบจำลองในการหาค่าการกระจายตัวในแนวดิ่ง ของโอโซนพบว่าสอดคล้องกันแม้เปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากดาวเทียม SSGE II และโอโซนซอนด์จากมาเลเซีย ค่าการกระจายตัวในแนวดิ่งของโอโซนเหนือบริเวณสงขลาพบว่ามีความหนาแน่นที่ความสูง 26-28 กิโลเมตร และค่าเฉลี่ยรายปีประมาณ 47x10 โมเลกุลต่อลูกบาศก์เซนติเมตรในปี พ.ศ. 2544 และ 49 x 10 โมเลกุลต่อลูกบาศก์เซนติเมตรในปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากไม่มีการลดลงของโอโซนในเขตร้อน ดังนั้นการ เปลี่ยนแปลงของโดโซนในระยะยาวจึงไม่แตกต่างมากนักยกเว้นค่าโอโซนผิวพื้นที่มีค่าสูงซึ่งแสดงให้เห็นถึง มลภาวะบริเวรสถานีในเมือง
SUBJECT
Ozone -- Thailand -- Songkhla
Ozone layer
โอโซน -- ไทย -- สงขลา
ชั้นโอโซน
Top