Authorนิพนธ์ ศศิธรเสาวภา
Titleความสำเร็จของอาชีพผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน / นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา
Imprint ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2552
Descript ก-ฐ, 207 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของอาชีพผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทุนมนุษย์ของผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านทุนมนุษย์กับความสำเร็จของอาชีพผู้บริหารสตรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ 19 เขต รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,179 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยได้ผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเชื่อมั่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสมองกลอิเลคทรอนิกส์ วิเคราะห์สถิติพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด อันดับ และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วยการเขียน Syntax ทดสอบสหสัมพันธ์ดาโนนิคอล (Canonical Correlation) ในชุดคำสั่ง MANOVA ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะทุนมนุษย์ในคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านการศึกษา ส่วนใหญ่จากการศึกษาระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 76.5 ด้านประสบการณ์ทำงาน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.8 และด้านสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้วและอยู่ด้วยกันกับคู่สมรส คิดเป็นร้อยละ 62.5 คุณลักษณะทุนมนุษย์ด้านบุคลิกภาพ โดยบุคลิกภาพในแรงดึงดูดทางกายภาพมีค่าเฉลี่ย 4.04 และบุคลิกภาพในแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีค่าเฉลี่ย 4.14 ส่วนคุณลักษณะทุนมนุษย์ด้านสถานภาพทางครอบครัว โดยสถานภาพทางครอบครัวในความทุ่มเทต่อครอบครัวในแรงสนับสนุนจากครอบครัวมีค่าเฉลี่ย 4.45 ความสำเร็จในอาชีพด้านวัตถุวิสัยของผู้บริหารสตรีในเงินเดือนร้อยละ 49.5 เงินเดือนอยู่ระหว่าง 26,001-35,000 บาท ในตำแหน่งร้อยละ 74.6 อยู่ในระดับ (C-8) และจำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ ร้อยละ 71.1 ทำงาน 40-50 ชั่วโมง ส่วนความสำเร็จในอาชีพด้านจิตวิสัย ในความพึงพอใจในอาชีพมีค่าเฉลี่ย 4.35 ความสำเร็จในอาชีพด้านจิตวิสัยในความพึงพอใจในงานมีค่าเฉลี่ย 4.17 การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทุนมนุษย์กับความสำเร็จของอาชีพด้านวัตถุวิสัยของผู้บริหารสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความสำเร็จในอาชีพด้านวัตถุวิสัยที่ได้รับอิทธิพลจากคุณลักษณะทุนมนุษย์มากที่สุด คือ ระดับรายได้ หรือเงินเดือนที่ได้รับสูงถึงร้อยละ 84.20 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันสูงมาก (0.912) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทุนมนุษย์กับความสำเร็จของอาชีพด้านจิตวิสัยที่ได้รับอิทธิพลจากคุณลักษณะทุนมนุษย์มากที่สุด คือ ความพึงพอใจในอาชีพสูงถึงร้อยละ 85.60 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันสูงมาก (0.925) และความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทุนมนุษย์กับความสำเร็จในอาชีพ พบว่าความสำเร็จในอาชีพด้านจิตวิสัยได้รับอิทธิพลจากคุณลักษณะทุนมนุษย์มากที่สุดร้อยละ 38.1 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันสูงมาก (0.617) ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ว่าคุณลักษณะทุนมนุษย์ทั้ง 3 ด้านนั้น มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จในด้านจิตวิสัยของผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความพึงพอใจในอาชีพมากกว่าความพึงพอใจในงาน
This study was aimed at 1) examining the human capital attributes on human charactistics, personality, family status, 2) investigating the career success on objective career success, subjective career success and 3) exploring the relationship between human characteristic and career success which led to women executive careers’ success in the Office of the Basic Education. The of this study was 2,179 women operation staff from 19 organizations affiliated with Office of the Basic Education. Questionnaire was used as a tool of the study. Approved it’s validity by scholars at a confident level of 0.911%. The data was analyzed by using the using the electronic program. The statistic used was mean, standard deviation, maximum and minimum, and testing the relationship between dependent and independent variables with Syntax writing to test the canonical correlation by MANOVA at a statistical significance of 0.01. The results of the study on human capital attributes indicated that women executive careers’ success in the Office of the Basic Education had the highest percentage in terms of human capital attributes of Master Degree at 76.5%, followed by the highest of experience (21-30 years) was at 46.7%, highest of family status (married and live together) was at 62.5%. Human capital attributes in personality, followed by the average of achievement motive was at a mean 4.14, physical attractiveness was at a mean of 4.04, Human capital attributes in family status, followed by the average family support was at a mean of 4.45, family involvement was at a mean of 4.17. Concerning the career success on objective career the highest percentage in terms of position (C-8) was at 74.6, highest of salary (26,01-35,000) was at 49.5, highest of hour worked per week (40-50) was at 71.1, Subjective career success in terms of job satisfaction at a mean of 4.35, followed by the average of occupation satisfaction was at a mean of 4.17. The test of correlation between human capital attributes with career success indicated that human capital attributes tended to pursue career success in the Office of the Basic Education to highly apply objective career success with income or salary at 84.2%, in other word, it has highest correlation at 0.912. The correlation between human capital attributes with subjective career success indicated that human capital attributes tended to pursue career success to highly apply subjective career success with occupation satisfaction at 85.6%, in other word, it has highest correlation at 0.925. And the correlation between human capital attributes with subjective career success indicated that human capital attributes tended to pursue career success to highly apply career success with objective career success at 38.1% in other word, it has highest correlation at 0.617. The result of the study on human capital attributes indicated that all three human capital attributes have influence on women executive careers’ success in the Office of the Basic Education who consider and concentrate on policy of subjective career success in occupation satisfaction much more than job satisfaction.


SUBJECT

  1. ภาวะผู้นำของสตรี
  2. สตรี
  3. ความสำเร็จ
  4. นักบริหารสตรี
  5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)658.407 น617ค CHECK SHELVES