Authorปิยะภรณ์ ชั้นแก้ว, ผู้แต่ง
Titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อส่วนเผื่องบประมาณ / ปิยะภรณ์ ชั้นแก้ว = Factors influencing budgetary slack / Piyaporn Chankaew
Imprint 2548
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77749
Descript ก-ฏ, 115 แผ่น แผนภูมิ

SUMMARY

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อส่วนเผื่องบประมาณกับส่วนเผื่องบประมาณ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 172 บริษัทโดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้จัดการฝ่ายหรือผู้จัดการแผนกขาย มีแบบสอบถามที่ใช้ได้ส่งกลับคืนมาจำนวน 104 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 60.47 ตัวแปรที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ระดับของส่วนเผื่องบประมาณ และระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อส่วนเผื่องบประมาณ ซึ่งประกอบด้วย 8 ปัจจัยได้แก่ความแตกต่างกันของข้อมูลที่ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลางได้รับ การให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับกลางในการจัดทำงบประมาณของผู้บริหารระดับกลาง ผลกระทบด้านบวกที่ได้รับหากสามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผลกระทบด้านลบที่ได้รับหากไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินที่ได้รับจากองค์กร และผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่ได้รับจากองค์กร ผลจากการศึกษาพบว่า บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตมีส่วนเผื่องบประมาณในระดับปานกลาง และผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่า อายุงานในบริษัทของผู้จัดการฝ่ายหรือผู้จัดการแผนกขายมีผลทำให้ระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อส่วนเผื่องบประมาณทั้ง 8 ปัจจัยทำการศึกษามีความแตกต่างกัน นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับส่วนเผื่องบประมาณที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับกลางในการจัดทำงบประมาณ ปัจจัยด้านอิทธิพลที่มีผลต่อการจัดทำงบประมาณของผู้บริหารระดับกลาง ปัจจัยด้านผลกระทบด้านลบที่ได้รับหากไม่สามารถปฏิบัตงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และปัจจัยด้านผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่ได้รับจากองค์กร โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับส่วนเผื่องบประมาณ ดังนั้น ในกระบวนการจัดทำงบประมาณควรมรการควบคุมปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเพื่อช่วยลดหรือควบคุมส่วนเผื่องบประมาณ
The purpose of this research is to examine the relationship between budgetary slack and factors influencing the creation of budgetary slack. This study is a survey research using questionnaire as an instrument to collect data. The sample includes 172 manufacturing companies listed on the Stock Exchange of Thailand using sales managers as respondents. There are 104 usable questionnaires received, representing 60.47 percent response rate. The variables include profiles of respondents, budgetary slack and factors influencing the creation of budgetary slack including information asymmetry, budget emphasis, budget participation, influencing power of managers, positive budgetary feedback, negative budgetary feedback, intrinsic rewards system, and extrinsic rewards system. The results show that most listed companies have moderate level budgetary slack. The results using analysis of variances indicate that years of work experience in companies of sales manager effect all of the eight factors influencing the creation of budgetary slack. Furthermore, the results using multiple regression analysis indicate that 5 out of 8 factors including budget emphasis, budget participation, influencing power of managers, negative budgetary feedback, and extrinsic rewards system are positively related to budgetary slack at the significant level of 0.05. Therefore, in the budgeting process, these factors should be controlled in order to reduce budgetary slack.


SUBJECT

  1. งบประมาณ
  2. การประเมินผลงาน
  3. Budgets
  4. Job evaluation

LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Thesis2195 CHECK SHELVES