Authorขจรศักดิ์ โสรินทร์
Titleการศึกษาสภาพและปัญหาของโรงเรียนแรกเริ่มนำร่องในโครงการนำร่องการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน / ขจรศักดิ์ โสรินทร์ = A study of state and problems of the first pilot school in the school-based management pilot project / Kajornsak Sorin
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65807
Descript ก-ญ, 312 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของโรงเรียนนำร่องในโครงการนำร่องการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประชากรเป็น ผู้บริหาร 27 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา 8 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นครู อาจารย์ 240 คน รวม 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาร่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารวิชาการ โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษา มีการสร้างความตระหนักให้ครูเพื่อให้เกิดการดำเนินการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเทียบระดับและเทียบโอนผลการเรียน มีการสร้างความตระหนักและพัฒนาครูให้มีความรู้และมีทักษะการผลิตสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ พร้อมกับประสานความร่วมมือกับชุมชนเพื่อเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ และมีการสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดสถานศึกษา โดยพบปัญหา ขาดการติดตามประเมินผล ครูต้องสอนหลายวิชาภาระงานมาก ขาดงบประมาณสนับสนุน ขาดความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาและชุมชน 2. การบริหารงบประมาณ โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนงบประมาณ ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นของงาน/โครงการ โดยการจัดสรรมีทั้งลักษณะแยกตามรายการและลักษณะเงินรวม มีบุคลากรรับผิดชอบโดยตรงในการเบิกจ่ายงบประมาณตามระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย มีบัญชีเงินสดและมีการตรวจการรับจ่ายประจำวันและทุกสิ้นเดือน มีการจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบติดตามและประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่าย มีการรณรงค์ส่งเสริมการลงทุนทางการศึกษาและพัฒนาสถานศึกษาและมีกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยพบปัญหา บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่มีระบบการติดตามตรวจสอบและประเมินผล บัญชีวัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ไม่เป็นปัจจุบัน 3. การบริหารบุคคล โรงเรียนมีการดำเนินการวางแผนกำลังคน ตลอดจนจัดการประชุมเพื่อชี้แจงการวางแผนกำลังคนให้บุคลากรรับทราบ มีการจัดทำและชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินที่ชัดเจน มีการเสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณของครูโดยยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรที่เป้นแบบอย่างที่ดี และมีการประเมินคุณภาพครูและบุคลากรเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พบปัญหา ขาดแคลนอัตรากำลังในบางสาขาวิชา เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ชัดเจน บุคลากรไม่ได้รับความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ 4.การบริหารทั่วไป โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคคล/คณะกรรมการเพื่อดำเนินการศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศของสถานศึกษา มีการบูรณาการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมในหลักสูตรสถานศึกษาโดยจัดให้นักเรียนร่วมกิจกรรมทางศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีงานกิจการพิเศษตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล มีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และมาตรฐานการศึกษาให้แก่ครูและบุคลากร มีการแต่งตั้งผู้บริหาร/ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้าหมวดวิชาเป็นอนุกรรมการรับผิดชอบการนิเทศติดตามและประเมินผลโดยพบปัญหา บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการทำแผนกลยุทธ์ ขาดความร่วมมือจากชุมชน บุคลากรขาดความชำนาญในการกำหนดนโยบาย ขาดการนิเทศภายในอย่างต่อเนื่อง
This research aimed to study the state and problems of the first pilot schools in the school-based management pilot project. The supporting basis of this research stemmed from the first 8 pilot schools. The sampled population consisted of 240 school teachers. 8 chairperson of the school committees, and 27 school administrators. The research was based on a variety of instruments, namely structured-interview forms, questionnaires, and content-analysis forms. The data were subsequently analyzed for their frequency distributions and percentages. The findings are summarized as follows: 1. Academic AfTairs Administration: The schools appointed boards of committees for curricula development. The teachers were made to be aware of and facilitate student-centered, learning environment. The committees were also set up to manage placement tests and student transfers. School teachers were trained to improve skills in educational technologies and instructional aids development. The institutions were developed to transform into learning center as well as coordinate with outside communities to permit learning networking. There were attempts to involve communities to promote understanding from the public. The key problem areas found from this research are the lack of performance monitoring and control, job overloading, inadequate supporting budgets, and lack of cooperation among educational institutes and public communities. 2. Budget Management: The schools appointed boards of committees for strategic and budget planning. The budgets were allocated according to the needs of requested projects. There are two categories of allotment, which are itemized and total allotments. There were dedicated personnel whose jobs were to manage account payables and receivables, cash inflows and outflows, and purchasing and procurement according to the PM Office’s regulations. There was a committee to track and trace budget spending. There were campaigns to promote investments that are education-related as well as funding for educational loans. The key problem areas identified are lack of knowledge and understanding, lack of systematic means to track and monitor performances, and outdated inventory systems. 3. Personnel Administration: The schools planned their human resources and held meetings to inform their personnel regarding their plans. There were distinct criteria and solid evaluation procedures. There also were programs to instill disciplines and etiquettes by recognizing and rewarding outstanding personnel as well as programs to assess the quality of teachers and other personnel. The key problem areas found are insufficient number of personnel in certain fields, hazy performance appraisal criteria, and lack of fairness in performing their jobs. 4. General Administration: The schools appointed boards of committees to initiate and develop information systems. Religious and cultural studies were also integrated in the school programs by encouraging students’ participation in the local and regional religious and cultural activities. There were special programs to accommodate urgent policies of the government. There also were activities to promote the quality of education by improving the overall understanding of the objectives, vision, and educational standards of the school teachers and others. There were appointments of executives, academic affairs executive assistants, and chiefs of academic to be responsible for their respective lines of duties as well as the monitoring of performances. The key problems found are lack of knowledge and understanding in the development and implementation of strategic plans, lack of cooperation from outside communities, lack of expertise in drafting policies, and inconsistency of internal supervision.


SUBJECT

  1. การบริหารโรงเรียน
  2. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
  3. School management and organization
  4. School-based management