Authorศรัณย์ สิงห์ทน
Titleการเข้าร่วมโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรการรายย่อย : กรณีศึกษาเขตภูมินิเวศน์ฉะเชิงเทรา / ศรัณย์ สิงห์ทน = Participation of farmers in the pilot project of sustainable agricultural development for small-scale farmers : a case study of chachoengsao geographical ecological zone / Saran Singhton
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38760
Descript ก-ซ, 137 แผ่น

SUMMARY

งานวิทยานิพนธ์ เรื่อง การเข้าร่วมโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย : กรณีศึกษาเขตภูมินิเวศน์ฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้คือเกษตรกรรายย่อยในเขตภูมินิเวศน์ฉะเชิงเทรา จำนวน 470 คน ในการศึกษาครั้งใช้ระเบียบวิธีวิจัยใน 2 ลักษณะ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาเกษตรกรรายย่อยจำนวน 470 คน มีจุดประสงค์หลัก คือ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเกษตรกรรายย่อยในการเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ในเขตภูมินิเวศฉะเชิงเทรา 2.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากที่เกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ในเขตภูมินิเวศน์ฉะเชิงเทรา ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมโครงการฯ คือ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่โครงการนำร่องฯ การมีโอกาสได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน การได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างความสำเร็จของเกษตรกรรมยั่งยืน ทัศนคติและความเชื่อมั่น แต่ปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมโครงการฯ คือ ขนาดครอบครัว ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกตามรายชื่อเกษตรกรรายย่อยของโครงการนำร่องฯ เขตภูมินิเวศน์ฉะเชิงเทรา จำนวน 50 ราย มีจุดประสงค์หลัก คือ ศึกษาการปรับกระบวนทัศน์ ทั่งกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการกลุ่ม ในด้านการผลิต การมีส่วนร่วมในชุมชน ภูมิปัญญา ผลการศึกษาพบว่า หลังจากที่เกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ แล้ว ได้มีการปรับวิธีการประกอบอาชีพ การใช้ทรัพยากรและการใช้ภูมิปัญญาเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม ส่วนการปรับในเรื่องการมีส่วนร่วมในชุมชนไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากลักษณะการตั้งบ้านเรือนยังคงรูปแบบเดิม
This study adopts two methodologies. Firstly, in quantitative research, the sample consists of 470 small-scale farmers using questionnaires. This methodology has the following objectives: 1.To study factors influencing the participation of small-scale farmers in the pilot project of sustainable agricultural development. 2.To study changes taken place after small-scale farmers participate in the pilot project The analysis finds that factors influencing small-scale farmers’ participation in the project are age, level of education, income, contacts with project coordinators, opportunities to get budget support, opportunities to visit success cases, attitude and confident in the project In contrast, family size is not factor influencing small-scale farmers’ participation. Secondly, in qualitative research, the sample consists of 50 small-scale farmers participated in the pilot project. The main objectives are to study paradigm change in learning and group process in terms of : production, resource utilization, community participation and use of local knowledge. The analysis finds that after small – scale farmers participated in the project, they adjusted their production process, resource utilization and use of local knowledge. But community participation has not been improved since participants in the project maintain their livelihood in diverse locations. Community participation could not be developed.