Authorเสาวนี วรรณวิทยาภา
Titleผลกระทบของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมต่อการเป็นภรรยาน้อย ; ศึกษากรณีสตรีในภาคกลางของประเทศไทย / เสาวนี วรรณวิทยาภา = The impacts of socialization process on becoming mistresses : A case study of women in the central region of Thailand / Saowanee Wanvithayapa
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25539
Descript ก-ฌ, 211 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยเรื่องผลกระทบของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมต่อการเป็นภรรยาน้อย : ศึกษากรณีสตรีในภาคกลางของประเทศไทยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักคือ การศึกษากระบวนการขัดเกลาทางสังคม ที่ทำให้ผู้หญิงเป็นภรรยาน้อย ศึกษาภูมิหลัง และวิถีชีวิตของผู้หญิงที่เป็นภรรยาน้อยศึกษาผลกระทบของการเป็นภรรยาน้อย ศึกษาปัญหาต่าง ๆ ของผู้หญิงที่เป็นภรรยาน้อยและเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของผู้หญิงที่เป็นภรรยาน้อย การวิจัยดังกล่าวใช้กรอบแนวคิด การขัดเกลาทางสังคม กลุ่มปฐมภูมิ ครอบครัว ความนับถือตนเอง ค่านิยมและใช้ทฤษฎีดังต่อไปนี้คือ ความใกล้ชิด การทดแทนสิ่งที่ขาดหายไป การแลกเปลี่ยนทางสังคม จิตวิเคราะห์ และพัฒนาการทางจริยธรรม ส่วนระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยสนามทางมานุษยวิทยาเป็นหลัก และใช้เทคนิควิจัยสำคัญคือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้หญิงที่เป็นภรรยาน้อยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 7 คน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 คน และจังหวัดกาญจนบุรี 1 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน การวิจัยครั้งนี้มีสมมติฐานทั้งหมด 7 ข้อ ดังต่อไปนี้คือ: ข้อที่ 1 การเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างประคบประหงมมีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย ข้อที่ 2 การขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัวมีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย ข้อที่3 การทำงานใกล้ชิดกับผู่ชายที่มีภรรยาแล้วมีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย ข้อที่ 4 ปัญหาด้านเศรษฐกิจมีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย ข้อที่ 5 การมีค่านิยมต้องการมีสามีเพียงคนเดียวมีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย ข้อที่ 6 การขาดความนับถือตนเองมีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย และ ข้อที่ 7 ความหย่อนยานทางจริยธรรมมีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย ผลวิจัยพบว่ามีสมมติฐาน 4 ข้อที่ได้รับการยอมรับคือ ข้อที่ 2, 3, 5 และ 7 นั่นคือการขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว การทำงานใกล้ชิดกับผู้ชายที่มีภรรยาแล้ว การมีค่านิยมต้องการมีสามีเพียวคนเดียว และมีการความหย่อนยานทางจริยธรรม มีผลต่อการเป็นภรรยาน้อย งานวิจัยเรื่องนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของผู้หญิงที่เป็นภรรยาน้อยอีกด้วย
The main purposes of the research entitled “THE IMPACTS OF SOCIALIZATION PROCESS ON BECOMING MISTRESSES : A CASE STUDY OF WOMEN IN THE CENTRAL REGION OF THAILAND” are to study the process of socialization making women become mistresses, the affect of being mistress, to study various problems of mistresses and propose the solution of such problems. The concepts applied in this research are socialization, primary group, family, self-respect, and value. The research is based on the theories of intimateness, compliment, social exchange, psychoanalysis, and moral development. In terms of methodology, anthropological field work was used in the main by indepth-interviewing 9 women in total: 7 in Bangkok Metropolis, 1 in Pranakhorn Sri Ayuthaya province, and 1 in Kanchanaburi province. In this research, 7 hypotheses are put forth: 1 Pampering bringing up results in being mistress. 2 Lacking love and cozy life in family results in being mistress. 3 Working closely with married man results in being mistress. 4 Economic problems result in being mistress. 5 The value of monogamy results in being mistress. 6 Lacking self-respect results in being mistress. 7 Ethics slackening results in being mistress. The result of the research shows that 4 of these hypothese are accepted, i.e. 2 Lacking love and cozy life in family, 3 Working closely with married man, 5 The value of monogamy, and 7 Ethics slackening. This research also put forward the solution of problems encountered by the mistresses.


SUBJECT

  1. ภรรยาน้อย
  2. สังคมประกิต
  3. สตรี -- ไทย

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวส 569 LIB USE ONLY
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis471909 LIB USE ONLY