Authorสุพจน์ บุญวิเศษ
Titleแบบแผนความคิดและรูปแบบผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย / สุพจน์ บุญวิเศษ = Thinking pattern and leadership style of the chief executive of the subdistrict administrative organization in Thailand / Supot Boonwises
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25463
Descript ก-ฝ, 343 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ ประการแรกเพื่อศึกษาแบบแผนความคิดที่นำไปสู่ความรู้ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรูปแบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นจริง รวมทั้งพฤติกรรมผู้นำที่ควรจะเป็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามทัศนะของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและกลุ่มร่วมงานและเกี่ยวข้องในการทำงาน ประการที่สองเพื่อศึกษาความสอดคล้องของแบบแผนความคิดกับรูปแบบพฤติกรรมผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และประการที่สามเพื่อนำเสนอรูปแบบพฤติกรรมผู้นำที่ควรจะเป็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประเทศไทย ข้อมูลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 131 คน และ กลุ่มผู้ร่วมงานและเกี่ยวข้อง 5 กลุ่มจำนวน 7,708 คน ถูกวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทยส่วนใหญ่มีแบบแผนความคิดที่จะนำไปสู่ความรู้ในแบบแผนความคิดเชิงระบบ และรูปแบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นจริงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในภาพรวมทั่วประเทศส่วนใหญ่มีรูปแบบพฤติกรรมผู้นำแบบประชาธิปไตย รองลงมามีรูปแบบพฤติกรรมผู้นำแบบตามสบาย และกลุ่มผู้ร่วมงานต้องการรูปแบบพฤติกรรมผู้นำที่ควรจะเป็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแบบประชาธิปไตยมากที่สุด และพบว่าแบบแผนความคิดที่จะนำไปสู่ความรู้มีความสอดคล้องกับรูปแบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นจริงและควรจะเป็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับองค์ประกอบของพฤติกรรมผู้นำที่ควรจะเป็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามทัศนะของผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องพบว่า ในด้านโครงสร้างการริเริ่ม (Initiating Structure: เน้นงาน) ควรประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 5 ด้านคือ 1) คุณภาพของผลงาน 2) การบริหารจัดการ 3) วิสัยทัศน์และวิชาการในการปฏิบัติงาน 4) ความเชื่อมั่นในตนเอง และ 5) หลักปรัชญาพื้นฐานในการบริหารงาน ส่วนองค์ประกอบด้านจินตอาทร (Consideration: เน้นคน) ประกอบด้วย 5 ด้านคือ 1) มนุษยสัมพันธ์ 2) การให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการวางแผนองค์การ 3) การให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฎิบัติงาน 4) การตระหนักต่อทัศนคติของผู้ร่วมงาน และ 5) การใช้หลักปรัชญาในการบังคับบัญชาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
The purpose of this dissertation is threefold: firstly, to study the thinking pattern leading to the knowledge of the chief executives of the subdistrict administrative organizations (CE-SAO), and the CE-SAOs’ real and ideal leadership style with the CE-SAOs’ and five participatory groups’ point of views; secondly, to study the relevance of thinking pattern and leadership style of the CE-SAO; finally, to propose the ideal leadership model of the Thai CE-SAO. Field data were collected from 131 Thai CE-SAOs’ and five groups to totalling 7,708 participants associated with the Thai CE-SAO, and analyzed according to the objectives of this research. Research results revealed that most of the Thai CE-SAO had a thinking pattern which leads to the knowledge through system thinking, and the real leadership style- a combination of democracy and leisure fair. In addition, most of participants desired the democratic style in the Thai CE-SAO. It was also found that the Thai CE-SAOs’ thinking style model has association with the real and ideal leadership style. As a result of the Thai CE-SAOs’ ideal leadership style, from the participants’ point of views, it was revealed in two components as follows: a) initiating structure component composed of five factors: 1) quality of work, 2) administration and management, 3) vision and academic works, 4) self-confidence, and 5) basic philosophical principles in administration; and b) consideration component composed of five factors: 1) human relationship, 2) providing chances for workers to participate in organizational planning, 3) providing workers’ chances to perform jobs, 4) awareness on the participants’ attitudes, and 5) employing consistently philosophical principles of concerned with participants involved.


SUBJECT

  1. องค์การบริหารส่วนตำบล
  2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
  3. ผู้นำชุมชน
  4. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวด 41 LIB USE ONLY
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis471908 LIB USE ONLY