Authorจุฑามาศ ฉัตรโอฬารกุล
Titleการวิเคราะห์ความว้าเหว่ของเยาวชนหญิงที่กระทำผิดกฎหมาย / จุฑามาศ ฉัตรโอฬารกุล = An analysis of loneliness in female juvenile delinquents / Jutamas Chataolankun
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81
Descript ก-ญ, 141 แผ่น

SUMMARY

ศึกษาความว้าเหว่ของเยาวชนหญิงที่กระทำผิดกฎหมาย โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากกลุ่มตัวอย่างเยาวชนหญิง ที่กระทำผิดกฎหมายในสถานฝึกอบรมและเยาวชนหญิงบ้านปรานี จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความว้าเหว่า และแบบวัดการปรับตัวด้านครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสองทาง และเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการ Dunnett's T3 และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเยาวชนที่มีคะแนนความว้าเหว่สูง และค่อนข้างสูงจำนวน 11 คนที่คัดเลือกมาจากกลุ่มตัวอย่าง 100 คนของการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เยาวชนหญิงที่กระทำผิดกฎหมายโดยทั่วไป มีความว้าเหว่ในระดับค่อนข้างต่ำและมี่การปรับตัวด้านครอบครัวค่อนข้างดี 2) เยาวชนที่มีการปรับตัวด้านครอบครัวได้ค่อนข้างดีและค่อนข้างไม่ดี มีความว้าเหว่สูงกว่าเยาวชนที่มีการปรับตัวด้านครอบครัวดี 3) เยาวชนที่มีการย้ายถิ่นฐานมีความว้าเหว่มากกว่าเยาวชนที่ไม่ได้ย้ายถิ่นฐาน 4) เยาวชนที่เคยคิดฆ่าตัวตายมีความรู้สึกว้าเหว่มากกว่าเยาวชนที่ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย 5) เยาวชนหญิงที่กระทำผิดกฎหมายที่มีระดับอายุ อาชีพของบิดามารดา ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ภูมิหลังทางครอบครัว ลักษณะของการกระทำผิด และจำนวนครั้งที่กระทำผิดและถูกจับกุมแตกต่างกันมีความว้าเหว่ไม่แตกต่างกัน 6) ความว้าเหว่าและการปรับตัวด้านครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบ 7) เยาวชนหญิงที่กระทำผิดกฎหมายที่มีความว้าเหว่าสูงและค่อนข้างสูง มีลักษณะแบบแผนทางอารมณ์ ทางความคิดและทางพฤติกรรมค่อนข้างเป็นไปในทางลบ โดยรายงานว่า มีความรู้สึกทุกข์ใจ ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากอดทน ขาดสัมพันธภาพที่ต้องการ รู้สึกสงสารตนเอง มองตนเองและผู้อื่นในทางลบ และมีลักษณะแยกตัวออกจากสังคม และพบบ้างที่มีความรู้สึกไม่มีอิสระ มีความกังวลใจ รู้สึกขาดบางสิ่งบางอย่าง รู้สึกว่าไม่มีคนเข้าใจ คิดว่าตนเองล้มเหลวทางด้านสังคม และมีความรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง และผู้ที่มีความว้าเหว่าเผชิญกับความว้าเหว่ โดยใช้กลวิธีการหาทางผ่อนคลาย แสวงหาการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และหลีกหนีปัญหาโดยเก็บความรู้สึกไว้คนเดียว ไม่แก้ปัญหาและไม่ค่อยได้ใช้การแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม
To investigate the loneliness of female juvenile delinquents through quantitative and qualitative data. For quantitative data, participants were 100 juvenile delinquents in Girl Training Center: Ban Prani. The instruments used were the Loneliness Scale and the Family Functioning Scale. Data was analyzed using the one-way and two-way ANOVA designs followed by post-hoc multiple comparisons with Dunnett's T3 test, and the Pearson correlation coefficient. The qualitative data was obtained through indepth interview with 11 girls, drawn from the 100 juvenile delinquents of the quantitative part, who reported high and relatively high loneliness. The major findings were 1) Female juvenile delinquents reported relatively low level of loneliness and relatively high level of family functioning. 2) The juvenile delinquents with relatively high and low level of family functioning reported more loneliness than those with high level of family functioning. 3) The juvenile delinquents whose families moved to reside in Bangkok reported more loneliness than those who resided in Bangkok. 4) The juvenile delinquents with suicidal intentions reported more loneliness than those with no suicidal intentions. 5) No significant effects for age level, academic level, marital status, type and number of perpretation family background and parents' vocation on juvenile delinquents' loneliness were found. 6) Loneliness and family functioning were negatively related. 7) The female juvenile delinquents with high and relatively high level of loneliness tended to present negative patterns of affective, cognitive, and behavioral characteristics. Experienced sufferings, lonely feelings, inpatient boredom, lack of significant relationships, self-pitiness, negative self and other evaluation, and social isolation were reported. Some reported experienced anxiety, emptiness, social failure, lack of affection and understanding, and lack of autonomy. In coping with loneliness, the participants reported more use of relaxation, seeking to belong, keep problems to self, not coping; and were less likely to seek social support


SUBJECT

  1. ความว้าเหว่
  2. เยาวชนผู้กระทำความผิดอาญา
  3. เยาวสตรี

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470170 LIB USE ONLY
Education Library : Research Collection155.962 จ628ก CHECK SHELVES