Authorสุรีย์ แสงรุ่งศรี
Titleการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พุทธศักราช 2545 ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข / สุรีย์ แสงรุ่งศรี = The implementation of bachelor degree programme in nursing science curriculum B.E. 2545 in nursing institutes under the Praboromarajchanok Institute of Health Work Force Development Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health / Suree Sangrungsri
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3290
Descript ก-ฌ, 317 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พุทธศักราช 2545 ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 25 คน และใช้แบบสอบถามอาจารย์ผู้สอนจำนวน 134 ฉบับ ในวิทยาลัยพยาบาล 5 แห่ง ได้รับแบบสอบถามคืน 134 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า วิทยาลัยพยาบาลส่วนใหญ่มีการศึกษาวิเคราะห์และทำความเข้าใจหลักสูตรแม่บท เอกสารประกอบหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตร มีการวางแผนการใช้หลักสูตร จัดแผนการเรียน จัดทำแผนการสอน เอกสารประกอบการสอนและแผนการนิเทศ มีการเตรียมบุคลากร อาจารย์ผู้สอนมีการเตรียมตนเอง มีเกณฑ์ในการพิจารณาจัดอาจารย์เข้าสอนและจัดตารางเรียน มีการจัดบริการสื่อการเรียนการสอนและวัสดุหลักสูตร สำรวจและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน สำรวจหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติมในห้องสมุด มีการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน และเตรียมอาคารสถานที่และแหล่งฝึก ติดต่อประสานงานกับแหล่งฝึกล่วงหน้า มีหลักในการบริหารจัดการงบประมาณ อาจารย์ผู้สอนมีการปรับหลักสูตร จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและสอนเสริม มีการเตรียมการสอน วิธีที่ใช้สอนภาคทฤษฎีมากที่สุดคือ การบรรยาย วิธีที่ใช้สอนภาคปฏิบัติมากที่สุดคือ การประชุมปรึกษาการพยาบาล ลักษณะการนิเทศการฝึกปฏิบัติงานคือ อาจารย์นิเทศก์ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีวัดและประเมินผลให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า วิธีที่ใช้วัดผลภาคทฤษฎีมากที่สุดคือ การทดสอบ และวิธีที่ใช้วัดผลภาคปฏิบัติมากที่สุดคือ การใช้แบบฟอร์มการประเมิน ปัญหาในการใช้หลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ไม่เข้าใจเนื้อหาในเอกสารหลักสูตร ขาดผู้มีประสบการณ์ความรู้ด้านหลักสูตรอาจารย์ไม่มีเวลาในการศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตร การจัดทำแผนการสอนและเอกสารประกอบการสอน การจัดทำแผนการนิเทศการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพราะมีงานต้องรับผิดชอบมาก วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและสื่อการเรียนการสอนมีจำนวนไม่เพียงพอได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ล่าช้า ขาดเอกสารหลักสูตรและเอกสารต่างๆ ตำรา สำหรับค้นคว้า อาจารย์ในแต่ละกลุ่มวิชามีไม่เพียงพอสัดส่วนระหว่างอาจารย์นิเทศก์ต่อจำนวนนักศึกษาไม่เหมาะสม ห้องปฏิบัติการและห้องเรียนมีไม่เพียงพอ ยานพาหนะมีไม่เพียงพอและไม่สามารถให้บริการได้ทุกครั้ง อาจารย์ขาดทักษะการสอนในเทคนิควิธีสอนแบบบูรณาการที่ใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ เนื้อหาวิชามากเกินไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อาจารย์ขาดความรู้ ขาดทักษะในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล
The purposes of this research were to study state and problems in the implementation of the bachelor degree program of Nursing Science Curriculum B.E. 2545 in Nursing Institute under the Praboromarajchanok Institute of Health Work Force Development Division. Data were collected through interviewing 25 administrators and surveying 134 teachers with questionnaire. Data were analyzed by percentage. The research findings were as follows: Most of the Nursing Institutes organized activities to analyze core curriculum, provided supplementary documents and curriculum manuals. They prepared curriculum implementation plans, study program, lesson plans, resources for teaching and supervision plans. The institutes prepared their staff and they also prepared themselves. They had the criteria for selecting and assigning teachers. They provided and developed teacher's aids and always cheeked the text books and supplementary books in the library. They set the academic atmosphere, the environment, and building facilities, also workplaces were coordinated in advance. They had the criteria for budgeting management. The teachers were allowed to adopt the curriculum. Extra activities were provided so as the remedial teaching. Lesson plans were prepared. The teaching method which most used for theoretical subjects was a lecture while nursing consultation was most used in practicing subjects. Students were closely supervised by teachers and they were informed regarding the regulations and evaluation in advance. Testing was the most used method for content evaluation and assessment forms were used for students while practicing. The curriculum implementation problem were as follows. Lack of understanding among teachers regarding content of the curriculum, insufficient amount of time due to duties assigned, materials and equipment were limited, inappropriated amount of books and texts and also lack of communication, inappropriated amount of teacher-supervisors and students. There were limited amount of classrooms and laboratories and transportation. The teachers lack of teaching skills especially community-based learning method and evaluation tools construction.


SUBJECT

  1. พยาบาลศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470811 LIB USE ONLY