Authorอาทร สุทธิวราภิรักษ์
Titleความต้านทานต่อการสึกของไททาเนียมเมื่อคู่สบเป็นฟันธรรมชาติ / อาทร สุทธิวราภิรักษ์ = Wear resistance of titanium against natural teeth / Arton Suthiwarapirak
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3210
Descript ก-ฑ, 136 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานต่อการสึกของโลหะไททาเนียม เมื่อคู่สบเป็นฟันธรรมชาติ เทียบกับโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียม และศึกษาปัจจัยบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อการสึก ได้แก่ ความขรุขระของผิวหลังการขัดและความแข็งผิวของโลหะ โดยเตรียมชิ้นตัวอย่างโลหะซึ่งประกอบด้วย ไททาเนียมบริสุทธิ์ โลหะผสมไททาเนียม 2 ชนิดได้แก่ โลหะผสมไททาเนียม Ti-6AI-4V และ Ti-6Al-7Nb เป็นกลุ่มทดลองและโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมเป็นกลุ่มควบคุม ชิ้นตัวอย่างฟันเตรียมจากฟันกรามน้อยซึ่งถูกถอนเนื่องจากการจัดฟัน ตอนที่ 1 ทำการขัดโลหะทั้ง 4 กลุ่มด้วยขั้นตอนที่เหมือนกัน จากนั้นวัดค่าเฉลี่ยความขรุขระของชิ้นตัวอย่างโลหะแต่ละชิ้นด้วยเครื่องทดสอบความขรุขระผิว นำข้อมูลมาทดสอบสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบบอนเฟอร์โรนี ตอนที่ 2 ทดสอบความแข็งผิวของโลหะแต่ละกลุ่มด้วยเครื่องทดสอบความแข็งผิว โดยใช้น้ำหนักกด 500 นิวตัน เป็นเวลา 15 วินาที นำข้อมูลมาทดสอบสถิติเช่นเดียวกับตอนที่ 1 จากนั้นหาความสมพันธ์ระหว่างความขรุขระผิวและความแข็งผิว ตอนที่ 3 ทำการทดลองโดยยึดชิ้นตัวอย่างฟันและชิ้นตัวอย่างโลหะเข้ากับเครื่องจำลองการสึก ซึ่งออกแบบให้เป็นการสึกเกิดจากสององค์ประกอบ โดยให้ชิ้นตัวอย่างฟันเคลื่อนไปบนชิ้นตัวอย่างโลหะภายใต้น้ำที่ไหลเวียน ด้วยความถี่ 60 รอบต่อนาที เป็นระยะทาง 8 มิลลิเมตร โดยใช้น้ำหนักถ่วงขนาด 100 นิวตัน และประเมินความต้านทานต่อการสึกจากน้ำหนักที่สูญเสียไปของชิ้นตัวอย่างโลหะ และความสูงที่หายไปของชิ้นตัวอย่างฟันซึ่งวัดด้วยเครื่องโปรไฟล์โปรเจคเตอร์ ภายหลังการทดสอบจำนวน 10,000 รอบ นำข้อมูลมาทดสอบสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบมีตัวแปรร่วม และเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบบอนเฟอร์โรนี พบว่า ผิวขัดของโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมมีความเรียบมากกว่าผิวขัดของโลหะในกลุ่มไททาเนียม ความแข็งผิวของโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญกับความแข็งผิวของโลหะผสมไททาเนียม แต่มีค่ามากกว่าความแข็งผิวของไททาเนียมบริสุทธิ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ความขรุขระผิวและความแข็งผิวของโลหะมีความสัมพันธ์ในเชิงลบโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.71 โลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมมีความต้านทานต่อการสึกสูงกว่าไททาเนียมบริสุทธิ์และโลหะผสมไททาเนียมเมื่อคู่สบเป็นฟันธรรมชาติ โลหะผสมไททาเนียมมีการสึกมากที่สุดและยังทำให้ฟันคู่สบมีการสึกมากที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อตรวจสภาพพื้นผิวของโลหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ อะตอมมิคฟอร์ซ พบว่า ผิวสึกของโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมมีความเรียบมากที่สุด
The purpose of this study was to evaluate wear resistance between titanium and cobalt-chromium alloys when opposing to natural teeth; enamel. Surface roughness after polishing and microhardness of metal were also evaluated. Metal specimens were cast from [alpha] titanium (commercially pure titanium; Cp-Ti), and 2 [alpha] + [beta] alloys (Ti-6Al-4V and Ti-6Al-7Nb). Co-Cr alloys were also cast and served as the control. Tooth specimens were selected from extracted premolar for orthodontic purpose. Part I, 4 groups of metal were polished with the same procedure. Roughness average (Ra) of each group was measured by using a surface roughness tester. ANOVA and Bonferroni's multiple comparisons were performed at p < 0.05. Part II, the surface hardness test was performed using a digital microhardness tester (load: 500 g; dwell time: 15 seconds). Statistical analysis was performed as in part I. The correlation between surface roughness and hardness was also assessed. Part III, tooth and metal specimen were secured in and in vitro 2-body were simulator. Wear testing was performed by repeatedly grinding upper tooth specimen on lower metal specimen under flowing water (60 cycles/min, grinding distance: 8 mm. and 100 N dead weight). After 10,000 cycles, wear resistance was assessed by weight loss (WL) of metal specimen and vertical height loss (VHL) of enamel; assessed by profile projector method. MANCOVA and Bonferroni's multiple comparisons were performed at p < 0.05. The surface of Co-Cr alloys was observed to be much smoother than those of Cp-Ti and alloys. The surface hardness of Co-Cr alloys and Ti alloys was significantly higher than that of Cp-Ti (p < 0.05). A significant negative correlation exists between surface hardness and surface roughness with a correlation coefficient of r = -0.71. When opposing to enamel, Co-Cr alloys demonstrated better wear resistance than Cp-Ti and its alloys. Ti alloys exhibited the greatest wear of themselves as well as their corresponded opposing enamel. Moreover, atomic force microscope (AFM) observation after the test revealed that the worn surface of Co-Cr alloys is the smoothest among the examined metals


SUBJECT

  1. โลหวิทยาทางทันตกรรม
  2. ไทเทเนียม
  3. ฟันปลอม
  4. Titanium
  5. Chromium Alloys
  6. Dental Restoration Wear
  7. Surface Properties

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470785 LIB USE ONLY
Dentistry Library : Thesisวิทยานิพนธ์ CHECK SHELVES
Dentistry Library : Thesisวิทยานิพนธ์ CHECK SHELVES