Authorพีระพงษ์ สำราญทรัพย์
Titleการศึกษาการกระจายของตัวอสุจิภายหลังการผสมเทียมแบบการสอดท่อเข้าตัวมดลูกในแม่สุกร / พีระพงษ์ สำราญทรัพย์ = A study on sperm distribution after intrauterine insemination in sows / Peerapong Sumransap
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2585
Descript ก-ญ, 35 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจนับจำนวนตัวอสุจิที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของท่อนำไข่ และปีกมดลูกภายหลังการผสมเทียมด้วยวิธีการสอดท่อเข้าตัวมดลูก (intrauterine insemination, IUI) เปรียบเทียบกับการผสมเทียมโดยการสอดท่อเข้าบริเวณคอมดลูกแบบปกติ (conventional artificial insemination, Al) แม่สุกรพันธุ์ผสม แลนด์เรซ x ยอร์กเชียร์ จำนวน 12 ตัว ถูกใช้ในการทดลอง แม่สุกรได้รับการตรวจการเป็นสัดทุก 6 ชั่วโมง และตรวจการตกไข่ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ชนิดเรียลไทม์ บี โมด ทุก 4 ชั่วโมง แม่สุกรทุกตัวได้รับการผสมเทียม 1 ครั้งโดยใช้พ่อสุกรตัวเดียวกันในรอบที่ 2 ของการเป็นสัดหลังหย่านม ก่อนเวลาที่คาดว่าจะตกไข่ประมาณ 6-8 ชั่วโมง แม่สุกรถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (6 ตัว) ได้รับการผสมเทียมแบบปกติ ด้วยน้ำเชื้อ 1 โด๊ส ที่มีจำนวนอสุจิ 3 พันล้านตัว ปริมาตร 100 มิลลิลิตร กลุ่มที่ 2 (6 ตัว) ได้รับการผสมเทียบแบบสอดท่อเข้ามดลูกโดยใช้น้ำเชื้อ ที่มีจำนวนตัวอสุจิ 1 พันล้านตัว ปริมาตร 50 มิลลิลิตร หลังการผสมเทียม 24 ชั่วโมง แม่สุกรได้รับการผ่าตัดเพื่อนำรังไข่ท่อนำไข่ และปีกมดลูก ออกมาและแบ่งเป็นส่วนต่างๆ 7 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูกส่วนปลาย ส่วนกลางและส่วนต้น ยูทีเจ อิสมัสส่วนปลายและส่วนต้น และแอมพูล่า นำทุกส่วนไปชะล้างด้วยสารละลายบีทีเอส และนับจำนวนตัวอสุจิ ด้วยฮีโมไซโตมิเตอร์ จากการทดลองพบว่าสุกรในกลุ่มที่ 1 และ 2 พบตัวอสุจิในทั้ง 2 ด้าน ของมดลูกและท่อนำไข่ในจำนวนที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) จำนวนตัวอสุจิที่พบในส่วนยูทีเจ และอิสทมัสส่วนล่างของแม่สุกรในกลุ่มที่ 1 และ 2 เท่ากับ 142,500; 131,167; 1,411 และ 1,280 ตามลำดับ สัดส่วนของจำนวนตัวอสุจิที่พบในแต่ลส่วนของปีกมดลูกและท่อนำไข่ของกลุ่มที่ 1 และ 2 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05).
The objective of the present study was to determine the number of spermatozoa obtained from the different part of the oviduct and uterine horn after intrauterine insemination (IUI) compared with conventional artificial insemination (AI). Twelve crossbred (Landrace x Yorkshire) multiparous sows were used in this study. All sows were examined for estrus every 6 h using back pressure test with the boar and were detected for the ovulation time using transrectal real time B-mode ultrasound. An artificial insemination was carried out using one boar at 8-10 h before the expected ovulation during the second estrus. The sows were divided in two groups, group I (n=6) was inseminated with conventional artificial insemination method with 3 x 10[superscript 9] spermatozoa in 100 ml extended semen and group II (n=6) was inseminated with intrauterine insemination technique with 1 x 10[superscript 9] spermatozoa in 50 ml extended semen. Twenty four hours after insemination, all sows were ovario-hysterectomized, oviducts and uterine horns were removed and divided into different seven parts as cranial, middle and caudal uterine horn, UTJ, cranial and caudal isthmus and ampulla. All parts were flushed and determined the number of spermatozoa by using haemocytometer. The results showed that there were not significant difference in the number of spermatozoa in both side of oviducts and uterine horns of group I and II (p>0.05). The numbers of flushed spermatozoa in UTJ and caudal isthmus for group I and II were 142,500; 131,167; 1,411 and 1,280, respectively. The proportion of sperm in all parts between group I and group II were not significantly different (p>0.05).


SUBJECT

  1. อสุจิ
  2. สุกร -- การผสมเทียม

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis471244 LIB USE ONLY
Veterinary Science Library : Thesisวพ/สพ SF395 .พ798 2547 CHECK SHELVES