Authorคทา สุวรรณวัฒน์
Titleการศึกษาแนวทางการจัดตั้งสถานทดสอบแบบกลางแจ้ง เพื่อการทดสอบความสามารถ ปรากฏว่าร่วมกันได้เชิงแม่เหล็กไฟฟ้าเบื้องต้น / คทา สุวรรณวัฒน์ = A study of approaches for setting up an open area test site for pre-compliance electromagnetic compatibility test / Katha Suwannawat
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2190
Descript ก-ด, 143 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาแนวทางการจัดตั้งสถานทดสอบแบบกลางแจ้งเพื่อการทดสอบความสามารถปรากฏร่วมกันได้เชิงแม่เหล็กไฟฟ้าเบื้องต้นโดยทดลองจัดตั้งสถานทดสอบแบบกลางแจ้งเพื่อการทดสอบเบื้องต้น สถานทดสอบแบบกลางแจ้งที่จัดตั้งจะอยู่ในบริเวณที่ไม่สามารถควบคุมให้มีระดับสัญญาณรบกวนได้ตามมาตรฐานทุกความถี่ ขนาดของระนาบดินจะเล็กกว่าขนาดที่มาตรฐานกำหนดและมีสิ่งกีดขวางที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณที่จะจัดตั้งสถานทดสอบ ผลดังกล่าวจะทำให้เกิดคลื่นหลายวิถีขึ้นทำให้ผลการตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกจากบริภัณฑ์ทางไฟฟ้าผิดพลาด การกำจัดผลของคลื่นหลายวิถีที่มาจากสิ่งกีดขวางทำโดยวิธีประตูเวลาวิธีนี้ต้องใช้อุปกรณ์ที่สามารถวิเคราะห์ในอาณาจักรเวลาได้เพื่อกรองคลื่นที่มาจากหลายวิถีออกไปซึ่งทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อผลการตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกจากบริภัณฑ์ทางไฟฟ้า การวิเคราะห์ค่าลดทอนสถานทดสอบที่ปรับบรรทัดฐานแล้วบนระนาบดินขนาดจำกัดทำด้วยระเบียบวิธีผสมผสานโดยใช้ระเบียบโมเมนต์ร่วมกับทฤษฎีการเลี้ยวเบนเชิงเอกรูปพบว่าระนาบดินสามารถลดขนาดพื้นที่ลงได้ 52.92% 85.57% และ 95.19% เมื่อเทียบกับมาตรฐาน CISPR 16-1 กรณีระยะทดสอบเท่ากับ 3 เมตร 10 เมตร และ 30 เมตร ตามลำดับ โดยกรณีระยะทดสอบ 10 เมตร พบว่าผลการคำนวณและผลการตรวจวัดค่าลดทอนสถานทดสอบที่ปรับบรรทัดฐานแล้วนั้นมีความสอดคล้องกัน การพิจารณาผลกระทบค่าระดับสัญญาณรบกวนที่เป็นค่าสุดขีดหรือเป็นค่าระดับสัญญาณรบกวนเสี่ยงนั้นใช้ทฤษฎีค่าสุดขีดมาบ่งชี้ค่าระดับสัญญาณรบกวนในบริเวณสถานทดสอบและการใช้กรรมวิธีการกรองทางเวลาจะทำให้ค่าสมรรถนะของสถานทดสอบดีขึ้น
This thesis investigates approaches for setting up an open area test site (OATS) for pre-compliance electromagnetic compatibility test. The test site is set up in an area where noise levels at all frequencies do not comply with standard. The size of the ground plane is smaller than the standard size and obstruction exists in the surrounding area for test site setting. This leads to multipath that affects emission test measurement. The approach limits the propagation multipath effects by using the time domain gating. A hybrid Method of Moments (MoM) / Uniform geometrical Theory of Diffraction (UTD) is used to calculate the Normalized Site Attenuation (NSA) of the finite ground plane OATS. Results from simulations show that the ground plane size can be reduced by 52.92 %, 85.57 % and 95.19 % when compared to CISPR 16-1 for the 3 m, 10 m and 30 m test distance respectively. The experimental results agree well with calculation results for the 10 m test distance case. The consideration of extreme noise level (or risk noise level) is by extreme value theory (EVT). It is also found that time domain gating helps improve the OATS performance.


SUBJECT

  1. คลื่นไฟฟ้า
  2. สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า
  3. โพลาไรเซชัน (ไฟฟ้า)
  4. การเข้ากันได้ของแม่เหล็กไฟฟ้า

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470273 LIB USE ONLY
Engineering Library : Thesisวิทยานิพนธ์ LIB USE ONLY