Authorกรรณิการ์ รักกิจ
Titleการขจัดไอออนทองแดงออกจากน้ำเสียโดยการดูดซับบนถ่านกัมมันต์ / กรรณิการ์ รักกิจ = Removal of copper ions from wastewater by adsorption on activited carbon / Kannika Rukkid
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4113
Descript ก-ฐ, 91 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการขจัดไอออนทองแดงออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้ถ่านกัมมันต์เกรดการค้า 4 ชนิดคือ ถ่านกัมมันต์ A B และ D ซึ่งถ่านกัมมันต์ทั้ง 4 ชนิดผลิตจากกะลามะพร้าว การทดลองแบ่งออกเป็น การศึกษาความสามารถในการดูดซับไอออนทองแดงบนถ่านกัมมันต์ทั้ง 4 ชนิด โดยมีตัวแปรที่ศึกษาคือ ค่าความเป็นกรดเบส เวลาสัมผัสและไอโซเทอมการดูดซับ ทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับไอออนทองแดงบนถ่านกัมมันต์ โดยใช้การทดลองแบบต่อเนื่อง ศึกษาการฟื้นฟุคุณภาพถ่านกัมมันต์ที่หมดประสิทธิภาพการใช้งาน ในขั้นตอนการศึกษาความสามารถในการดูดซับไอออนทองแดงบนถ่านกัมมันต์ทั้ง 4 ชนิด พบว่าค่าความเป็นกรดเบสที่เหมาะสมในการดูดซับไอออนทองแดงสำหรับ ถ่านกัมมันต์ A คือ ค่าความเป็นกรดเบสเท่ากับ 4 และสำหรับถ่านกัมมันต์ B C และ D มีค่าความเป็นกรดเบสที่เหมาะสม เท่ากับ 5 ถ่านกัมมันต์ ที่มีความสามารถในการดูดซับไอออนทองแดงสูงที่สุดคือ ถ่านกัมมันต์ A รองลงมาเป็นถ่านกัมมันต์ B C และ D ตามลำดับ การทดลองแบบต่อเนื่องได้เลือกใช้ถ่านกัมมันต์ A บรรจุลงในถังดูดซับเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนทองแดงพบว่า ถังดูดซับแบบแบ่งส่วนมีระยะเวลาการใช้งานนานกว่า และสามารถกำจัดไอออนทองแดงได้ดีกว่าถังดูดซับแบบคอลัมน์ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างน้ำเสียสังเคราะห์ กับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า ถ่านกัมมันต์ A สามารถดูดซับไอออนทองแดงที่อยู่ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้มากกว่าไอออนทองแดงที่อยู่ในน้ำเสียสังเคราะห์ ถ่านกัมมันต์ A ที่ใช้ในการดูดซับไอออนทองแดงออกจากน้ำเสียงสังเคราะห์ สามารถนำมาฟื้นฟูคุณภาพแล้วกลับมรใช้ใหม่ได้ 2 ครั้ง หลังจากนั้นก็จะหมดประสิทธิภาพในการดูดซับอย่างถาวร ขั้นตอนการแยกไอออนทองแดงออกจากสารละลายกรดไนตริก ที่ได้จากการฟื้นฟูคุณภาพถ่านกัมมันต์พบว่า สามารถแยกไอออนทองแดงได้มากกว่า 90%
To study the adsorption of copper ion from synthesis and industrial wastewater using 4 types of commercial coconut shell activated carbon, namely AC A, AC B, AC C AND AC D. The first experiment involved an effect of each factor on copper adsorption in batch mode. These factors were pH, contacted time and activated carbon dosage for adsorption isotherm The second one dealed with a performance of activated carbon in packed bed continuous mode. The third one considered regeneration of exhausted activated carbon to find out a life time of that activated carbon. Adsorption of copper depended on contacted time and pH of the metal solution. Maximum removal of copper by adsorption on AC A was at pH 4 while the maximum copper ion adsorption on AC B, AC C and AC D was at pH 5. From Freundlich adsorption isotherm, it was found that AC A was more effective than AC B, AC, C and AC D. In continuous mode, AC A was packing in wither horizontal or vertical packed-bet column. The result showed that horizontal packed-bed column gave more effective than vertical column. An amount of copper ion in industrial wastewater was more adsorbed on AC A than that in synthesis wastewater. In regeneration section, exhausted AC A could adsorb copper ion for 2 life-cycles after being regenerated by nitric solution. More than 90%, copper ion in eluted solution was recovered by electrochemical technique


SUBJECT

  1. น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
  2. การดูดซับ
  3. คาร์บอนกัมมันต์
  4. Activated carbon
  5. Adsorption
  6. Copper
  7. Regeneration

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470030 LIB USE ONLY