Authorนิลวรรณ วานิชสุขสมบัติ
Titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 / นิลวรรณ วานิชสุขสมบัติ = The development of computer instructional model based on constructivist approach using problem solving learning management for the second key stage students according to basic education curriculum B.E. 2544 / Ninlawan Wanitsuksombut
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/531
Descript [13], 229 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

สร้างและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา สำหรับผู้เรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ และกำหนดเป็นองค์ประกอบ รายละเอียด รวมทั้งเงื่อนไขและวิธีการในการนำรูปแบบการเรียนการสอไปใช้จริง 2) ประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบไปใช้จริง แบ่งผู้เชี่ยวชาญตามความชำนาญเฉพาะด้านคือ การออกแบบการเรียนการสอน คอนสตรัคติวิสต์ การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา ด้านคอมพิวเตอร์ และด้านการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 ด้านและ 5 ท่านรวมทั้งสิ้น 25 ท่าน โดยการพิจารณาระดับความเหมาะสมของการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้จริง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำค่าสถิติและข้อเสนอแนะที่ได้มาใช้ปรับปรุงรูปแบบ 3) การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอน โดยการประเมินและรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสิ้น 5 ท่าน รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สามารถอธิบายด้วยแผนผัง (Flowchart) ประกอบความเรียงแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1) การเตรียมการเรียนการสอนแบ่งเป็น การเตรียมเนื้อหาและสถานการณ์ปัญหาต้องมีลักษณะท้าทายให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบ เป็นเหตุการณ์ปัจจุบันหรือใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันผู้เรียน โดยการให้ผู้เรียนร่วมกันนำเสนอปัญหาเพื่อให้เป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียน เป็นการส่งเสริมทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้นั้นด้วยตนเอง บรรยากาศและสภาพแวดล้อมต้องเอื้อต่อการทำกิจกรรมกลุ่มและมีความเป็นประชาธิปไตย คือส่งเสริมให้กล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น สื่อและอุปกรณ์ ส่งเสริมทักษะการคิด ประสาทสัมผัสทุกด้านและกระบวนการแก้ปัญหา บทบาทสอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน บทบาทผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางในการเรียนและเป็นเจ้าของความรู้ มีการเรียนรู้อย่างตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะแสวงหาคำตอบ 2) กระบวนการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นการระดมความคิด-ตรวจสอบประสบการณ์-สรุปความรู้เดิมของผู้เรียน โดยการใช้กิจกรรมกลุ่ม การอภิปรายลำดับเหตุการณ์เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้ที่มีอยู่เดิมหาสาเหตุของปัญหา ขั้นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางปัญญา คือ การให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเป็นเครื่องมือจนได้แนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ จากการบูรณาการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เป็นขั้นของการนำเสนอผลงานหรือแนวทางของแต่ละกลุ่มย่อยและในชั้นเรียนร่วมกันประเมินแนวทางการแก้ปัญาในบริบทที่ใกล้เคียงกันแต่มีความซับซ้อนหรือยากขึ้น 3) การวัดและการประเมินผลแบ่งออกเป็น การวัดผู้เรียนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนว่าสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองหรือไม่ จากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การประเมินผลงานแฟ้มสะสมตัว (Portfolio) แบบประเมินความสามารถและการแสดงออกของผู้เรียน (Performance Assessment) รวมทั้งการวัดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียน รวมทั้งการให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย โดยการประเมินทั้งหมดอยู่ภายใต้การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
To create and propose the computer instructional model based on constructivist approach, with the problem solving learning management for the second key stage students by the basic educational curriculum, B.E. 2544. For research procedures, there were 3 steps to complete the achievement of those above objectives. 1) developed instructional design model which was consisted of methodological groundwork studied and all literature review for creating the conceptual framework in computer instructional design aimed to settle the research element, details in instructional design and including the conditions and approaches to be implemented. 2) evaluated the appropriateness in model implementation by all 5 methodological experts categorized in each subject areas, 25 persons totally, with specified random approach as the following aspects; constructivist, management, problem-solved learning, instructional design, computer literacy, and learning substances in work and career technology, then, analyzed the gathered data and presented in terms of means and standard deviation, and finally, perused the level of appropriation in learning model for actual implementation. 3) presented the instructional model assessed and approved by the 5 methodological experts. The results of this research indicated that the computer instructional model based on constructivist approach, with the problem solving learning management for the second key stag students by the basic educational curriculum, B.E. 2544 could explained with flow chart presentation supplemented by the descriptive explanation and then divided into 3 parts as the followings. 1) For learning preparation, content preparation and problem solving should be challenged for learners to find out the solutions, being the actual incidents, and closed to the routine or daily activities of learners. Hence, brain storming the base-cased problems from each learner in classroom was the best way to initiate the knowledge pool and to share all problems among learners. Moreover, all suitable surroundings had to be afforded for group activity and led the learners to share their own opinions and experiences including the acceptance the others' suggestion. Finally, media and educational accessories to encourang the thinking skill, acknowledgement skill and problem solving approaches, instructors' role as faciliators and classroom companion, and learners' role as learner centered and knowledge ownership should be activated to the learners to find out the problem solutions. 2) The instructional procedures were divided to 3 steps as the follows, 1) gathering and verifying the basic knowledge among learners by carrying out the group activities and brain storming aimed to rectify the problems among learners with formerly occurred situations consequently. 2) changing in intellectual structures by encouraging learners to find out and reached to the new problem-solving solutions by integrated in former and current knowledge. And 3) implementing the knowledge, as the procedure of outcome presentation of each minority groups of learners including the evaluation in problem-solving solutions, carried out from the second step of all learners in classroom, with using all related context and in any level of complexity. 3) For the assessment methodologies in this research, there were mainly approaches as the following. Learners assessment followed by the objectives in unit curricla to concentrate in the capability of knowledge creation among learners including the behavioral observations. Assessment in learners' performance with portfolio, performance assessment questionnaires. Finally, skill and capability assessment of learners in problem-solving achievement and self assessment among learners, all of these were underneath the condition of authentic assessment


SUBJECT

  1. คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน
  2. ทฤษฎีสรรคนิยม
  3. การแก้ปัญหา

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470645 LIB USE ONLY