Authorปทีป เมธาคุณวุฒิ, ผู้วิจัย
Titleการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคณาจารย์ และจัดการระบบสารสนเทศด้านบริหารทรัพยากรบุคคล : รายงานผลการวิจัย / โดย ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Imprint กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Connect tohttp://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2003.1
Descript vii, 213 แผ่น ; 30 ซม

SUMMARY

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาอาจารย์ จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ และพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ในการพัฒนาอาจารย์ ด้านการสอน การวิจัย วิชาการ การบริการวิชาการและการพัฒนาอาจารย์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ อาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ) ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ จำนวน 351 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และสัมภาษณ์ความคิดเห็นคณบดี 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยนี้ใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ความแปรเปลี่ยน และวิเคราะห์องค์ประกอบ การตรวจสอบและทดลองใช้ระบบสารสนเทศ เป็นกรณีศึกษาที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของอาจารย์ในการพัฒนาตนเองที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายในระดับต่ำ ด้านการสอน การวิจัย วิชาการ และการบริการวิชาการ มีดังนี้ 1) ทักษะการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิธีแก้ปัญหาและส่งเสริมการตั้งคำถาม 2) หลักการวัดและประเมินผลความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน 3) เทคนิคใหม่ของการวัดและประเมินผล 4) เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและการวางแผนงาน 5) แหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัย 6) แหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัย 7) แนวทางการเขียนรายงานวิชาการเพื่อเผยแพร่วิชาตามความต้องการของสังคม 8) แนวทางการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อชี้นำสังคมให้เห็นปัญหาและทางเลือก 9) แนวทางในการเขียนบทความเชิงวิจารณ์และการวิเคราะห์วิจารณ์บทความ ส่วนการสนับสนุนที่ต้องการจากสถาบัน ได้แก่ 1) การบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง 2) การสนับสนุนให้ศึกษาต่อ 3) การลาเพิ่มพูนวิชาการโดยได้รับเงินเดือน 4) การจัดทำศูนย์ข้อมูล/ห้องสมุดและแหล่งทรัพยากรที่สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น 5) ประสานความร่วมมือระหว่างสถาบัน ภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการทำวิจัยร่วมกัน 6) สนับสนุนอาจารย์ใหม่ให้มีโอกาสได้ทำวิจัยโดยจัดสรรทุนอีกทั้งให้มีโอกาสได้ฟังโดยเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ 7) ให้มีโอกาสทำงานบริการวิชาการร่วมกับอาจารย์ที่มีความชำนาญในการให้บริการวิชาการและเป็นที่ยอมรับ 8) จัดอบรม/สัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ได้ความรู้ ความเข้าใจและทักษะการบริการวิชาการที่มีประสิทธิผล 9) สอบถามความต้องการและคัดเลือกอาจารย์ที่มีพื้นฐานและความเข้มแข็งทางด้านวิชาการในสาขาของตนเองเพื่อพัฒนาการให้บริการที่สนใจ
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อจัดทำแผนงานและโครงการ พบว่ามีแผนงานและโครงการ 17 โครงการ คือ 1) การค้นหาหัวข้อวิจัย/โครงการวิจัย 2) การให้คำแนะนำในการทำวิจัย 3) เว็บส่งเสริมการวิจัย 4) เว็บช่วยหาแหล่งทรัพยากรเพื่อการวิจัย 5) การพัฒนาหลักสูตร 6) การเสริมสร้างการสอนที่มีประสิทธิภาพ 7) การประเมินผลผู้เรียน 8) การผลิตผลงานวิชาการ 9) การเริ่มต้นงานบริการวิชาการ 10) การเสริมทักษะการบริการวิชาการ 11) การเสริมทักษะการสื่อสาร 12) การให้คำปรึกษา 13) การร่วมงานกับอาจารย์อุปเทศ/อาจารย์อาวุโส 14) การสร้างกลุ่มเกื้อกูล/การทำงานร่วมกัน 15) การสืบค้นอาจารย์อุปเทศ อาจารย์อาวุโส 16) การสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ และ 17) การบริหารโครงการ-งบประมาณ-เวลา โครงการเหล่านี้รับผิดชอบการดำเนินงานโดยหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานระดับคณะ ต่อจากนั้นได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาจารย์เพื่อทดลองใช้ ประกอบด้วยงานย่อย คือ ประวัติของอาจารย์ ผลงานการสอน ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ผลงานบริการวิชาการ การเพิ่มพูนวิชาการ การค้นหาอาจารย์อุปเทศ/อาจารย์อาวุโส และงบประมาณการพัฒนาอาจารย์
The study aimed at analyzing performance indicators for establishing faculty development plan and to develop human resource information system for faculty development in teaching, doing research, academic works, academic services and in follow-up faculty development. Sample of the study were deans and faculty member from Chulalongkorn University and King Mongkut’s University of Technology Thonburi (an autonomous universities) classified into 4 disciplines as physical sciences, health sciences, social sciences, and humanities. The subjects consist of 351 faculty member from stratified random sampling and the selected deans from 10 faculties. The data were gathered by using questionnaire and structured interview which were analyzed by mean, standard deviation, coefficient of variance, factor analysis and frequency. The processes of verifying the faculty development plan and testing information system were treated as case study at the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The results revealed that the instructors’ needs for the most faculty development were 1) skills for encouraging student’s problem solving and asking question performances; 2) principles for using students’ authentic assessment’ 3) new techniques for measurement and evaluation; 4) techniques for writing research proposal and research project planning; 5) research findings distribution resources; 6) research grants’ resources; 7) guidelines of academic writing for society; 8) guidelines of writing academic articles for solving society’s problems or leading society to alternative directions; and 9) guidelines for writing critical articles and for criticizing articles. For the supports needed from the universities for faculty development were 1) lectures by experts in specific areas; 2) scholarships for further study; 3) academic sabbatical leave with payment; 4) networks of resources for academic exchanges; 5) collaboration with private sectors in and out of country; 6) research grants for new faculty member and funding for international conferences; 7) opportunities of working with senior faculty member who are experts in academic services; 8) providing conferences/seminars/workshops for enhancing faculty member’s academic service function; and 9) survey faculty member’s needs in each area for enhancing their academic service function. According to the variables related to faculty development consisted of 16 composite indicators in the order of factor loadings, from high to low according to faculty’s needs and supports from universities. These indicators were grouped as projects in faculty development plan and after verifying with selected group of administrators and faculty member as a case study, the 17 projects were established, namely 1) In search of research topic/project, 2) Guideline for doing research, 3) Website for research promotion, 4) Website for research resources, 5) Curriculum development, 6) Enhancing effective teaching, 7) Student evaluation, 8) Production of academic work, 9) First step of academic service, 10) Enhancing academic work skills, 11) Enhancing communication skills 12) Consulting, 13) Working with mentor/professor, 14) Working together, 15) Searching for mentor/professor, 16) Discussion with expert, and 17) Project management-budget-time. All of these projects with suggested activities were responsible by a center at university level named Center for Professional development in Higher Education which works closely with a faculty development unit in each discipline. The faculty development information system tested in this study was composed of sub-systems, namely faculty member background, teaching load, research product, academic work, and academic service, professional progress, searching for mentor/professor, and budgeting for faculty development.


SUBJECT

  1. อาจารย์มหาวิทยาลัย
  2. การพัฒนาบุคลากร
  3. การบริหารงานบุคคล
  4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาจารย์
  6. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี -- อาจารย์
  7. teaching personnel
  8. information
  9. human resources

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor)[TAIC] 68745 CHECK SHELVES
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Chula Collection[CU-B] ค 15 012355 LIB USE ONLY