Authorพรเทพ สมวงค์
Titleบทวิเคราะห์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 36/2542 : คดีนายเนวิน ชิดชอบ / พรเทพ สมวงศ์ = An analasis of constitutional court decision No.36/2542 (36/1999) : Mr.Nevin Chiktchop Case / Phontap Somvong
Imprint 2545
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24564
Descript ก-ฌ, 157 แผ่น

SUMMARY

บทวิเคราะห์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 36/2542 เป็นวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาถึงปัญหาการตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 216(4) ว่าในกรณีรัฐมนตรีต้องคำพิพากษาให้จำคุก ความเป็นรัฐมนตรีย่อมสิ้นสุดลงนั้น คำพิพากษาดังกล่าวต้องถึงที่สุดหรือไม่ และต้องเป็นการจำคุกจริงหรือไม่ โดยการนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัย มาวิเคราะห์ตามหลักกฎหมาย อันได้แก่หลักการตีความกฎหมายและหลักจริยธรรมของตุลาการ ในการตีความรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญมิได้กำหนดกฎเกณฑ์ในการตีความไว้ จึงต้องนำหลักการตีความกฎหมายทั่วไป คือการตีความตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ นอกจากนี้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ผู้พิพากษาหรือตุลาการผู้มีส่วนได้เสียไม่ควรร่วมพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางนาย มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เช่น มีการนำหลักกฎหมายอาญามาใช้ในการตีความรัฐธรรมนูญ มีตุลาการผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยคดี นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการนับคะแนนเสียงที่ไม่ถูกต้อง โดยการนำคะแนนเสียงฝ่ายข้างน้อยในประเด็นต้องจำคุกจริงหรือไม่ ซึ่งมีตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญเพียง 4 นายเท่านั้นที่เห็นว่าต้องจำคุกจริง มาเป็นหลักในการเขียนคำวินิจฉัยกลาง ทำให้มีการยึดถือบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งอาจสรุปสาเหตุได้ 3 ประการคือ ประการที่ 1 สาเหตุที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางนาย นำหลักการตีความกฎหมายอาญามาเป็นหลักในการตีความรัฐธรรมนูญ อาจเป็นเพราะพัฒนาการในกฎหมายมหาชนไทยเพิ่งได้รับการพัฒนามาไม่นาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ซึ่งเคยชินกับกฎหมายอาญา จึงนำนิติวิธีในกฎหมายอาญามาใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะนิติวิธีในการตีความกฎหมาย ประการที่ 2 สาเหตุที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย อาจเป็นเพราะปัญหาเรื่องจริยธรรมของตุลาการ ประการที่ 3 สาเหตุที่มีการนำคะแนนเสียงฝ่ายข้างน้อยมาเป็นหลักในการทำคำวินิจฉัย อาจเป็นเพราะความบกพร่องในวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ การส่งเสริมพัฒนาการกฎหมายมหาชนไทย การเพิ่มเติมวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และการมีประมวลจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต แต่การแก้ไขบรรทัดฐานที่ผิดพลาดตามคำวินิจฉัยที่ 36/2542 นี้ ต้องกระทำโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 216(4) เท่านั้น
This thesis on Analysis of the Constitutional Court's Decision No. 36/2542 studies problems in interpreting Section 216(4) of the Constitution of the Kingdom of Thailand which provides that the ministership of an individual Minister terminates upon being sentenced by a judgment to imprisonment. The interpretative problems are as to whether the judgment shall be final and imprisonment shall be in fact imposed or not. The Constitutional Court’s Decision and relevant facts are analyzed in accordance with the rule of law, i.e. the principle of legal interpretation and judicial conduct. In interpreting the Constitution, the general principle of legal interpretation shall be applied since the Constitution does not stipulate any specific rule on interpretation. Thus, the literal and intentional interpretation, In addition, Interested Constitutional judges should not participate in adjudication. Having studied the matter, I have founded that a certain number of Constitutional judges do not comply with the rule of law mentioned above. For instance, principles of criminal law are used in interpreting the Constitution and interested Constitutional judges have participated in adjudication. Moreover, it has appeared that fault methods were used in counting votes by taking minority votes of four judges as a basis in drafting the central decision that de facto imprisonment is required pursuant to Section 216(4). Therefore, such fault interpretation has been regarded as a standard hitherto. The Following reasons may explain the situations here: 1. The reason that a certain number of Constitutional judges applied principle of criminal law in interpreting the Constitution would be that public law in Thailand is in developing progress. Most of the Constitutional Judges are familiar with criminal law. Consequently, legal methods in criminal law, especially method of interpretation of law, are used in Constitutional law. 2. The reason the interested Constitutional judges participated in adjudication would be that of problems relation to judiciany conducts. 3. The reason the minority votes were taken in drafting the decision would be that of procedural defects of the Constitutional Court. Solutions to future problems would be encouraging the development in the area of public law in Thailand, supplementing of procedural rule of the Constitutional Court and effecting the code of judiciany conducts. However, the rectification of the Decision No. 36/2542 can only be done through amendment of Section 216(4) of the Constitutional Law.


SUBJECT

  1. คำวินิจฉัย -- คดีเนวิน ชิดชอบ
  2. ศาลรัฐธรรมนูญ -- คำวินิจฉัย
  3. ศาลรัฐธรรมนูญ -- กระบวนการพิจารณา

LOCATIONCALL#STATUS
Law Library : Thesis (4th Floor)K/TH 910 พ242บ 2545 CHECK SHELVES
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis451925 LIB USE ONLY