Authorอริยา จินดามพร
Titleการแยกเชื้อ Cryptococcus neoformans ด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ / อริยา จินดามพร
Imprint กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2543
Descript 14 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม

SUMMARY

การศึกษาความชุก ลักษณะทางกายภาพ (phenotype) และลักษณะทางพันธุกรรม (genetype) ของเชื้อ Cryptococcus neoformans ที่แยกได้จากผู้ป่วย โดยใช้เชื้อที่ส่งยังหน่วยเชื้อราโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือน สิงหาคม 2540 ถึงเดือนกรกฎาคม 2542 วิธีการแยก genus และ species อาศัยการศึกษาทางจุลสัณฐานวิทยาด้วย India-ink preparation, การศึกษาคุณสมบัติทางชีวเคมีด้วย API 20C AUX (BioM’erieux, France), urease test, phenoloxidase test และวิธีการแยก variety และ serotype ด้วย canavanine-glycine medium และ CryptoCheck (latron, Japan) ตามลำดับ ลักษณะทางพันธุกรรมศึกษาจากความหลากหลายในบริเวณ hypervariable โดยวิธี PCR-RAPD ใช้ M13 primer เชื้อจำนวนหกร้อยสามสิบแปดสายพันธุ์แยกได้จากน้ำไขสันหลัง (97%) และจากสิ่งส่งตรวจอื่น (3%) จากผู้ป่วย cryptococcal meningitis ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอช ไอ วี (50.5% จากข้อมูลที่มี, ข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 53% ของจำนวนสิ่งส่งตรวจทั้งหมด) มีผู้ป่วยในกลุ่มนี้ที่ไม่ติดเชื้อเอช ไอ วี และเป็นโรค SLE เพียง 4 คน ผลจากการศึกษา phenotype และ serotype เชื้อทั้งหมดเป็น Cryptococcus neoformans var. neoformans serotype A (C.grubil) จากนั้น ได้ทำการศึกษารูปแบบ PCR-RAPD ของเชื้อจำนวน 140 สายพันธุ์และพบว่า มี 3 รูปแบบ (96.5%, 2.8%, and 0.7%) เชื้อส่วนใหญ่มีรูปแบบเช่นเดียวกับรูปแบบ VNI ที่รายงานโดย Meyer และคณะ รูปแบบอีกสองรูปแบบนั้นมีจำนวนแถบ DNA ที่แตกต่างจากรูปแบบแรกประมาณ 2 – 3 แถบ รูปแบบที่หลากหลายพบในเชื้อ 3 สายพันธุ์ที่แยกได้จากผู้ป่วย 1 ใน 5 คน (กลุ่มติดเชื้อไวรัสเอช ไอ วี) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2 –3 ครั้ง และ 1 สายพันธุ์จากผู้ป่วยจำนวน 1/3 คนที่เป็น SLE เชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์นี้มีรูปแบบเดียวกันซึ่งแตกต่างจากรูปแบบ VNI อีกหนึ่งรูปแบบพบในเชื้อจำนวน 1 สายพันธุ์แยกได้จากผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี ที่เข้ารับการรักษาเพียงครั้งเดียว โดยสรุป ผลการทดลองของ phenotype และ genotype มีความสอดคล้องกันโดยวิธี PCR-RAPD ให้ผลการจัดจำหน่ายที่ละเอียดกว่า อย่างไรก็ตาม ควรยืนยันความหลากหลายนี้ด้วยวิธีอื่น
To study the prevalence, phenotype and genotype of clinical isolated Cryptococcus neoformans, the cultures in Mycology unit, King Chulalongkorn Memorial Hospital from August 1997 to July 1999 were recruited. The microscopic morphology examination using India-ink preparation, biochemical identification kit, API 20CAUX (BioM’erieux, France), Urease test, phenol oxidase test were performed to obtain the genus and species. Their varieties and serotypes were examined by canavanine-glycine medium and CrytoCheck (latron, Japan) respectively. The polymorphism in the hypervariable region using minisatellite M13 primer in the polymerase chain reaction or so celled PCR-RAPD profile was used for genotypic study. A total of six hundred thirty eight strains from cryptococcal meningitis patients were isolated from cerebrospinal fluid (97%) and others (3%). Most patients whom the specimens were sent were suffered from HIV infection (50.5% of the available data, the total data was available only 53%). In contrast, only four non-HIV infected patients whom physicians diagnosed as SLE were included. The phenotype and serotype results revealed that all these cultures were C.neoformans var. neoformans serotype A (C.grubil). Further, one hundred forty strains were used to investigate for the PCR-RAPD profile. Among these strains, three types of the profiles (96.5%, 2.8%, and 0.7%) were found. The major type were indistinguished from the VNI genetype from the report of Meyer et al. Another two types bearing the 2 – 3 intense bands different from the VNI type. The polymorphic profiles were found in 3 strains isolated from 1/5 cases (HIV infected patients) whom admitted 2 – 3 episodes and 1 strain from 1/3 cases (SLE patients). The genotypic profile of these four strains were the same and different from the major type. The last profile was from the individual isolate from HIV-infected patient. In conclusion, the result of phenotype and genotype was corresponse to each other but the later using PCR-RAPD method revealed more degree of strain discrimination. However, to confirm this discrimation with other molecular technique is suggested.


SUBJECT

  1. พันธุศาสตร์จุลชีพ
  2. เชื้อรา

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Chula Collection[CU-B] พ 15 011896 LIB USE ONLY