Authorบุษบา รอดอ้น, 2505-
Titleการแสดงของกะเหรี่ยงคริสต์บ้านป่าเด็ง จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2545 / บุษบา รอดอ้น = Dance of Christian Karens at Ban Padeng in Phetchaburi Province, 2002 / Busaba Rodon
Imprint 2545
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65439
Descript ก-ณ, 365 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาการแสดงของชาวกะเหรี่ยงคริสต์ ซึ่งศึกษาจากเอกสารงานงานที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ครูผู้สอนรำ นักแสดง ประชาชนชาวกะเหรี่ยงและการสังเกตจากการแสดงจริงจำนวน 3 ครั้ง ตลอดจนการฝึกหัดของผู้วิจัยกับครูผู้สอนรำในแต่ละชุด ผลจากการศึกษาพบว่า การแสดงของชาวกะเหรี่ยงคริสต์ มีด้วยกัน 4 ชุด คือ รำตง รำกระทบไม้ไผ่ รำตำข้าว และการแสดงเพลงกล่อมลูก สำหรับการแสดงทั้ง 4 ชุด มีลักษณะเฉพาะกล่าวคือ รำตง เป็นการรำอวยพรของชาย-หญิง โดยรำเป็นคู่ ๆ รำกระทบไม้ไผ่ เป็นการรำของชาย-หญิง จำนวน 20 คน โดยแบ่งเป็นผู้เคาะจังหวะ 12 คน ผู้แสดง 8 คน โดยใช้ไม้ไผ่ จำนวน 12 ลำ เป็นอุปกรณ์ประกอบการรำดังกล่าว รำตำข้าว เป็นการรำที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงคริสต์ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และการแสดงเพลงกล่อมลูก เป็นการแสดงที่มุ่งเน้นให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อครอบครัว การแสดงของกะเหรี่ยงคริสต์บ้านป่าเต็ง จังหวัดเพชรบุรี มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ การใช้พลังในการเคลื่อนไหวของเท้า ที่ให้ความรู้สึกหนักและเบาสลับกันไป มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องใช้การก้าวกระโดดไปข้างหน้าและบังคับส่วนของมือและเท้าไม่มากนัก นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า การรำ 4 ชุด มีลักษณะท่ารำที่แตกต่างกัน โดยมีลักษณะเด่น ดังนี้ รำตงเป็นการก้าวเท้าที่มีช่วงความกว้างระหว่างเท้าทั้งสองข้างระยะสั้นประมาณ 25 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถแตะเท้าไปด้านหน้าด้านข้างได้เท่านั้น และมีการแปรแถวไปด้านหน้าด้านข้าง โดยสลับตำแหน่ง ชาย-หญิง รำกระทบไม่ไผ่ มีการก้าว กระโดดที่เน้นการโน้มลำตัวไปด้านหน้า เพื่อให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวในลักษณะวงกลมทวนและตามเข็มนาฬิกา รำตำข้าว เน้นการใช้เท้าก้าวกระโดด ก้าวเท้าแตะตามจังหวะ ซึ่งผู้แสดงทั้งสองฝ่ายต่างสลับตำแหน่งและหน้าที่กัน โดยเป็นฝ่ายรำและฝ่ายตำข้าว การรำเพลงกล่อมลูก เป็นกิริยาท่าทางการอุ้มลูก การไกวเปลของผู้เป็นพ่อ-แม่ที่แสดงถึงความรัก ความห่วงใยที่มีต่อลูก และอนาคตของชนเผ่า การแสดงของชาวกะเหรี่ยงคริสต์ เป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตของกลุ่มชน ดังนั้นจึงควรนำมาเผยแพร่แก่สาธารณชน และอนุรักษ์ไว้เพื่อให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มนี้สืบไป
This thesis aims at studying the historical development and dance of Christian Karens at Padeng village in Petchaburi province, 2002. Research methodology includes reviewing related documents, interviewing teachers performers, and observers at the dance events, observation of 3 actual performances, and practice with the teachers. Research finds that the performance has 4 different parts. Ram Tong, pairs of male and female dancers greets the audience, Ram Kartobmaipai performed by 4 pairs of dancers within the frame of 6 pairs of bamboo clapping poles. Ram Tam Kao performanced by 3 pairs of dancers presenting agriculture life. Pleng Klom Look performed by a pair of dancers who act as father and mother of a child in a cradle depicting love and the future life of the Karen tribe. Karen Dance focuses on foot steps, learning forward alternates with heavy and light punctuality. Karen dance is a part of community life worth presenting to public at large and should be preserved as an ethnic cultural heritage.


SUBJECT

  1. การรำ -- ไทย -- เพชรบุรี
  2. กะเหรี่ยง -- ไทย -- เพชรบุรี
  3. กะเหรี่ยง -- ความเป็นอยู่และประเพณี
  4. Dance -- Thailand -- Phetchaburi
  5. Karen ‪(Southeast Asian people)‬ -- Manners and customs
  6. Karen ‪(Southeast Asian people)‬ -- Thailand -- Phetchaburi