Authorนิรัติศัย กระจายเกียรติ
Titleพัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ของเด็กไทยในการเล่าเรื่อง / นิรัติศัย กระจายเกียรติ = Syntactic development in story telling of Thai children / Nirattisai Krachaikiat
Imprint 2545
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24404
Descript ก-ฎ, 83 แผ่น

SUMMARY

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบล่างขึ้นบนที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ของเด็กไทยในการเล่าเรื่อง โดยศึกษาการเปรียบเทียบข้ามอายุจากผู้พูดภาษาไทยที่มีอายุต่างกัน 5 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 3 ปี 5 ปี 9 ปี 11 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่ และใช้ข้อมูลการเล่าเรื่องจากภาพวาดชุด กบ เจ้าอยู่ไหน โดยตั้งสมมุติฐานว่าการเล่าเรื่องของเด็ก 4 กลุ่มอายุ แสดงให้เห็นการพัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ในแง่จำนวน ขนาด และความซับซ้อนทางโครงสร้างของหน่วยถ้อย ขอบเขตของหน่วยถ้อยในงานวิจัยนี้ได้แก่หน่วยระหว่างการหยุด ซึ่งเป็นหน่วยที่เกิดขึ้นจริงในการสื่อสารที่เหมาะสมที่จะใช้วิเคราะห์พัฒนาทางวากยสัมพันธ์ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์พัฒนาทางวากยสัมพันธ์ในเชิงปริมาณในแง่จำนวนของหน่วยถ้อย สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนของหน่วยถ้อยมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุ 11 ปี และมีการแปรของปริมาณสูงขึ้นตามอายุ ผลการวิเคราะห์พัฒนาทางวากยสัมพันธ์ในเชิงปริมาณในแง่ขนาดของหน่วยถ้อย สรุปได้ว่าจำนวนของหน่วยถ้อยที่มีขนาด 7 คำและเล็กกว่า 7 คำมีจำนวนมากทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก แต่มีจำนวนลดลงในกลุ่มผู้ใหญ่ ในทางกลับกัน จำนวนหน่วยถ้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า 7 คำมีจำนวนน้อยในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก แต่จะมีจำนวนมากในกลุ่มผู้ใหญ่ ผลการวิเคราะห์พัฒนาทางวากยสัมพันธ์ในเชิงปริมาณในแง่โครงสร้างของหน่วยถ้อย สรุปได้ว่ากลุ่มอายุ 3 ปี และ 5 ปี ใช้อนุประโยคเชื่อมในการเล่าเรื่องมากที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ 9 ปี 11 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่ใช้ประโยคความเดียวในการเล่าเรื่องมากที่สุด ประโยคความซ้อนและอนุประโยคขยายความมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างชัดเจน บุพบทวลีมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามอายุ เมื่อวิเคราะห์ความซับซ้อนของโครงสร้างของหน่วยถ้อยที่เป็นประโยคโดยวิธีวิเคราะห์หน่วยประชิด พบว่าโครงสร้างของหน่วยถ้อยที่เป็นประโยคมีความซับซ้อนมากขึ้นตามกลุ่มอายุ ผลการวิเคราะห์ดังกล่าว แสดงว่าการเล่าเรื่องของเด็ก 4 กลุ่มอายุ แสดงให้เห็นพัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ในแง่จำนวน ขนาด และความซับซ้อนทางโครงสร้างของหน่วยถ้อย
This research comprises a bottom-up analysis of the syntactic development in story telling of Thai children. Thai native speakers from five age groups -3, 5, 9, 11 years and Adults – are compared using a cross-sectional data. The “Frog Story” materials are used to elicit open-ended oral story telling. It is hypothesized that Thai children’s story telling will show the syntactic development in terms of the number, the length, and the complexity of the structure of utterances. These narratives are then segmented into performance units based on objective criteria. The utterance boundaries in this research are Pause Defined Units (PDU), performance units which are appropriate for both of the quantitative and qualitative syntactic development analyses. The result of the quantitative syntactic development analysis in terms of the number of utterances shows an increase in the mean of the number of utterances with age, except for the 11 year-old group. However, the variation of the number of utterances incenses with age. The result of the quantitative syntactic development analysis in terms of the length of the utterances shows a large amount of utterances with 7 and smaller than 7 words in every age group, especially in children's utterances. On the contrary, the number of utterances larger than 7 words is very little in every age group, especially in children's utterances. Utterances larger than 7 words are found more in adults. The result of the qualitative syntactic development analysis in terms of the structure of utterances shows that the 3 and 5 year-old groups use a lot of Conjoined Clauses whereas the 9 and 11 year-old groups and adults use a large number of Simple Sentences. Complex Sentences and Extended Clauses clearly increase by age. Prepositional Phrases increase by age. When Immediate Constituent analysis was used, the complexity of the structure of utterances increases by age. This research concludes that represent that Thai children’s story telling exhibits the syntactic development in terms of the number, the length, and the complexity of the structure of utterances.


SUBJECT

  1. ภาษาไทย -- วากยสัมพันธ์
  2. วากยสัมพันธ์
  3. การเล่าเรื่อง

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาศาสตร์ LIB USE ONLY
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis451842 LIB USE ONLY