Authorมรกต แก้วมณี
Titleการทดสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งในการดัดแก้ภาพดาวเทียม Spot ด้วยสมการโพลิโนเมียล โดยใช้ค่าพิกัดซึ่งได้จากการรังวัดดาวเทียม / มรกต แก้วมณี = Planimetric accuracy evaluation of spot imagery rectification by polynomials using coordinates determined from GPS / Morakot Kaewmanee
Imprint 2545
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24787
Descript ก-ด, 179 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงความเหมาะสมของการรังวัดพิกัดของ จุดบังคับภาพโดยการรังวัดดาวเทียม GPS แบบ PSPP (Precise Single Point Positioning) ซึ่งค่าพิกัดที่ได้นำมาใช้ในการดัดแก้ภาพดาวเทียม SPOT 2 Panchromatic ที่มีขนาดจุดภาพ 10 ม ด้วยสมการโพลิโนเมียลดีกรีหนึ่ง สอง และสาม รวมทั้งมีการศึกษารูปแบบการกระจายตัวของจุดบังคับภาพ และจำนวนจุดบังคับภาพที่น้อยที่สุด ที่สามารถดัดแก้ภาพดาวเทียมให้มีค่า RMSE ที่ยอมรับได้ รวมถึงอิทธิพลของจุดบังคับภาพที่มีต่อพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และการวิเคราะห์ศักยภาพของภาพดาวเทียม SPOT 2 Panchromatic หลังการดัดแก้สามารถนำไปใช้ในกิจการแผนที่ในระดับมาตราส่วนใด การวิจัยนี้เป็นการดัดแก้ภาพดาวเทียม SPOT 2 Panchromatic จำนวน 2 ภาพ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณจังหวัด จันทบุรี ซึ่งทั้งสองภาพมีความแตกต่างทางภูมิประเทศ ภาพล่างเป็นพื้นที่ราบติดชายทะเล ในขณะที่ภาพบนเป็นพื้นที่ราบสลับภูเขาสูง ผลการวิจัย พบว่า
ผลลัพธ์จากการดัดแก้ภาพดาวเทียมได้ค่า RMSE อยู่ในระดับ 0.5-0.7 จุดภาพ จำนวนจุดบังคับภาพที่น้อยที่สุดที่สามารถทำการดัดแก้ภาพดาวเทียมให้มีค่า RMSE ในระดับที่ยอมรับได้นั้น คือ 15 และ 21 จุด สำหรับการใช้โพลิโนเมียลดีกรีสอง และสาม ตามลำดับ จากการวิจัยพบว่าโพลิโนเมียลดีกรีหนึ่งไม่เหมาะสมในการดัดแก้ภาพดาวเทียม ลักษณะการกระจายตัวที่พึงประสงค์ของจุดบังคับภาพ คือ กระจายตัวแบบครอบคลุมทั้งภาพ การทดสอบหาความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งของพื้นที่บริเวณที่ไม่มีจุดบังคับภาพ เมื่อใช้รูปแบบการกระจายตัวของ GCPs แบบ Curvilinear และ Polygon พบว่า มีขนาดความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งในระดับ 25 ม. บริเวณพื้นที่ที่อยู่ห่างจากแนวเส้น Curvilinear ในรัศมี 20 กม. และ 25 กม.จากจุด centroid ของโพลิกอน
The objective of this study was to determine the feasibility of using PSPP coordinates to accurately rectify SPOT 2 Panchromatic imagery by first, second and third order polynomial transformations. The study presented the rectifying results of the attainable accuracy of ground points versus number and distribution of ground control points (GCPs), versus the image measurement errors of GCPs and checkpoints and versus the order of the polynomial transformation. Various experimental schemes involving geometric strength with various configurations of polynomial transformation, the influence of the number and distribution of GCPs, and the influence of the image measurement errors of GCPs and checkpoints and the influence of GCPs to and inaccessible region were performed. Some recommendation for potential of SPOT Panchromatic imagery in mapping was finally drawn up from this research. Two SPOT Panchromatic images covering Chantaburi province were used in this study as the two images had different topographic characteristics where one was a flat terrain adjacent to the sea and the other was flat and hilly. The results of polynomial transformation using coordinates derived from PSPP yielded 0.5-0.7 pixel size accuracy. The optimum number of GCPs was 15 and 21 points when using second and third order polynomial transformation. The study revealed that first order polynomial transformation was not suitable to rectify SPOT Panchromatic. A well spread distribution of GCPs was highly recommended. The study of planimetric error without GCPs in the inaccessible region was analysed using 2 patterns of GCPs distribution namely a curvilinear and polygon. The results revealed that 25 m planimetric accuracy can be obtained at 20 km from the curvilinear and 25 km from the polygon’s centroid, respectively.


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis451781 LIB USE ONLY