Author เพ็ญนภา ไพรบูรณ์, 2521- Title ปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนนำร่อง / เพ็ญนภา ไพรบูรณ์ = Problems on implementation of basic education curriculum B.E. 2544 among teachers in health and physical education subject group in pilot shcools / Pennapa Priboon
Imprint
2545
Connect to http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/330
Descript
ก-ฐ, 137 แผ่น
SUMMARY
ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาลและพลศึกษา ในโรงเรียนนำร่อง ตามสาขาวิชาเอกที่จบการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สาขาวิชาเอกสุขศึกษา สาขาวิชาเอกพลศึกษาและสาขาวิชาเอกอื่นๆ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้นไปยังกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทั่วประเทศ จำนวน 324 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 266 ชุด คิดเป็น 82.08% ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการทดสอบค่าเอฟ และทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านเกี่ยวกับตัวครูผู้สอนและด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร ส่วนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผล มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 2. การเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่จบสาขาวิชาเอกต่างกัน พบว่า ครูที่จบวิชาเอกต่างกันมีปัญหาการใช้หลักสูตรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่จบวิชาเอกสุขศึกษามีปัญหาการใช้หลักสูตร มากกว่าครูที่จบวิชาเอกอื่นๆ และครูที่จบวิชาเอกพลศึกษามีปัญหาการใช้หลักสูตรน้อยที่สุด
ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาลและพลศึกษา ในโรงเรียนนำร่อง ตามสาขาวิชาเอกที่จบการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สาขาวิชาเอกสุขศึกษา สาขาวิชาเอกพลศึกษาและสาขาวิชาเอกอื่นๆ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้นไปยังกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทั่วประเทศ จำนวน 324 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 266 ชุด คิดเป็น 82.08% ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการทดสอบค่าเอฟ และทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านเกี่ยวกับตัวครูผู้สอนและด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร ส่วนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผล มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 2. การเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่จบสาขาวิชาเอกต่างกัน พบว่า ครูที่จบวิชาเอกต่างกันมีปัญหาการใช้หลักสูตรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่จบวิชาเอกสุขศึกษามีปัญหาการใช้หลักสูตร มากกว่าครูที่จบวิชาเอกอื่นๆ และครูที่จบวิชาเอกพลศึกษามีปัญหาการใช้หลักสูตรน้อยที่สุด
SUBJECT
การศึกษา -- หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร
สุขศึกษา
พลศึกษา
LOCATION CALL# STATUS Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis 450679
LIB USE ONLY
Top