Authorพรรณราย เทียมทัน
Titleผลของการใช้คอคนิทีฟทูล ความรู้เบื้องต้น และเมตาคอคนิชันที่มีต่อความสำเร็จ ในการสืบค้นข้อมูลบนเวิลด์ไวด์เว็บ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา / พรรณราย เทียมทัน = Effects of cognitive tool, prior knowledge, and metacognition upon data search success on World Wide Web of graduate sutdents / Pannarai Tiamtan
Imprint 2545
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10977
Descript [12], 158 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

พัฒนาคอคนิทีฟทูลเพื่อช่วยในการสืบค้นข้อมูล และศึกษาผลของการใช้คอคนิทีฟทูล ความรู้เบื้องต้นและเมตาคอคนิชันที่มีต่อความสำเร็จในการสืบค้นข้อมูล บนเวิลด์ไวด์เว็บของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่มีความรู้เบื้องต้นระดับสูงและกลุ่มที่มีความรู้เบื้องต้นระดับต่ำ โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คนคือ กลุ่มที่มีความรู้เบื้องต้นสูงที่ใช้คอคนิทีฟทูล กลุ่มที่มีความรู้เบื้องต้นสูงที่ไม่ใช้คอคนิทีฟทูล กลุ่มที่มีความรู้เบื้องต้นระดับต่ำที่ใช้คอคนิทีฟทูล และกลุ่มที่มีความรู้เบื้องต้นต่ำที่ไม่ใช้คอคนิทีฟทูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ 2- way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาที่ใช้และไม่ใช้คอคนิทีฟทูล มีคะแนนความสำเร็จในการสืบค้นข้อมูล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. นักศึกษาที่มีระดับความรู้เบื้องต้นต่างกันมีคะแนนความสำเร็จในการสืบค้น ข้อมูล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการใช้คอคนิทีฟทูลและระดับความรู้เบื้องต้นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ
To 1) develop cognitive tool to use as an data search support 2) study the effects of cognitive tool, prior knowledge and metacognition upon data search success on World Wide Web of graduate students. The samples were 60 graduate students of Education, Rajabhat Institute Nakornsawan. They were stratified into two groups : high and low prior knowledge and then were random assignment into four groups. The two experimental groups used cognitive tool as a tool to support data searching. The collected data consisted of scores from data searching success. The statistic used was two-way ANOVA. The results of the research were as follows 1. There was significant difference between use and not use cognitive tool upon data search success of graduate students on World Wide Web. 2. There was significant difference between high and low prior knowledge upon data search success of graduate students on World Wide Web. 3. There was significant interaction between the use of cognitive tool and prior knowledge upon information search success of graduate students on World Wide Web.


SUBJECT

  1. การค้นหาทางอินเตอร์เน็ต
  2. อภิปัญญา
  3. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis451433 LIB USE ONLY