Authorจุลชาติ ภัทรศิริกุล
Titleความรุนแรงของเส้นเลือดโคโรนารี จากการฉีดสีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีและไม่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทิฟหรือไตวาย / จุลชาติ ภัทรศิริกุล = Severity of coronary angiographic study in NIDDM patients with and without proliferative diabetic retinopathy or renal failure / Chulachart Patrasirikul
Imprint 2543
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8951
Descript ก-ญ, 64 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟหรือไตวายกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่ไม่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟและไตวาย วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย 59 ราย ที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟหรือไตวายและผู้ป่วย 83 ราย ที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่ไม่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟและไตวายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่มีข้อบ่งชี้ในการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีเนื่องจากกลุ่มอาการหัวใจโคโรนารีแบบเฉียบพลันหรือผลการตรวจทดสอบภาวะหัวใจขาดเลือด และได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์ตามปกติ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟหรือไตวายมีระยะเวลาการเป็นเบาหวานนานกว่า มีความดันซิสโตลิค สูงกว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่ไม่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟและไตวาย ลักษณะของเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟหรือไตวาย (n = 59) มีเส้นเลือดตีบ left main (n = 3;5.1%), เส้นเลือด ตีบ 3 เส้น TVD (n = 31; 52.5%), เส้นเลือดตีบ 2 เส้น ( n = 16;27.1%), เส้นเลือด ตีบ 1 เส้น (n = 8;13.5%), เส้นเลือดปกติหรือรอยโรคไม่มีนัยสำคัญ (n = 1;1.6%) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่ไม่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟและไตวาย (n = 83) มีเส้นเลือด left main ตีบ (n = 3;3.6%) เส้นเลือด ตีบ 3 เส้น (n = 32;38.5%) เส้นเลือดตีบ 2 เส้น (n = 25;30.1%) เส้นเลือด ตีบ 1 เส้น (n = 21;25.3%) เส้นเลือด ปกติหรือรอยโรคไม่มีนัยสำคัญ n(n = 2;2.41%) ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีรอยโรคเป็นแบบเส้นเลือด left main และเส้นเลือดตีบ 3 เส้น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟหรือไตวาย มีค่าเฉลี่ยจำนวนรอยโรคทั้งหมดและจำนวนรอยโรคที่มีนัยสำคัญทั้งหมด, รอยโรคที่เส้นเลือดโคโรนารีขวา, รอยโรคที่เส้นเลือดโคโรนารีขวาที่มีนัยสำคัญ, รอยโรคที่เส้นเลือดโคโรนารี obtuse marginal 1, รอยโรคที่มีนัยสำคัญที่เส้นเลือดโคโรนารี obtuse marginal 1, รอยโรคที่เส้นเลือดโคโรนารีขวาส่วนต้น proximal RCA lesions รอยโรคที่เส้นเลือดโคโรนารีขวาส่วนต้น ที่มีนัยสำคัญ และรอยโรคของเส้นเลือดส่วนปลายทั้งหมด มากกว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่ไม่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟและไตวาย สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีรอยโรคเป็นแบบเส้นเลือด left main และจำนวนเส้นที่ตีบ 3 เส้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟหรือไตวายมีจำนวนรอยโรคทั้งหมดและจำนวนรอยโรคที่มีนัยสำคัญทั้งหมด มากกว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่ไมมีจอประสาทตาแบบโพรลิเฟอร์เรทีฟและไตวาย
Objective : Compared with nondiabetic patients, patients with noninsulin dependent diabetic mellitus (NIDDM) have more extensive and diffused atherosclerotic disease. Whether NIDDM patients with proliferative diabetic retinopathy (PDR) or renal failure have more extensive and diffused atherosclerotic disease than NIDDM patients without PDR and renal failure have not been well characterized. The objective of this study is to compare the severity of coronary angiogram (CAG) in NIDDM patients with PDR or renal failure with NIDDM patients without these two complications. Research design and methods : Data on baseline clinical and angiographic characteristics of 59 NIDDM patients with PDR or renal failure and 83 NIDDM patients without PDR and renal failure in King Chulalongkorn Memorial Hospital from November, 1999 to November, 2000 were analyzed. These NIDDM patients underwent coronary angiogram due to acute coronary syndrome or results of noninvasive test and had been routinely evaluated eye ground by opthalmologist. Results : NIDDM patients with PDR or renal failure had longer duration of NIDDM, higher systolic BP than NIDDM patients without PDR and renal failure. On angiographic characteristic, NIDDM patients with PDR or renal failure (n= 59) had left main disease (n = 3;5.1%), TVD (n = 31;52.5%), DVD (n = 16;27.1%), SVD (n = 8;13.55), normal or nonsignificant lesion (n = 1;1.6%). NIDDM patients without PDR and renal failure (n = 83) had left main disease (n = 3;3.6%), TVD (n = 32;38.5%), DVD (n = 25;30.1%), SVD (n = 21;25.3%), normal or nonsignificant (n = 31;52.5%). Both groups of patients are not different in prevalence of tripple vessle disease and left left main disease. However, NIDDM patients with PDR or renal failure had much more mean+-SD of total lesions, total significant lesions, RCA lesions, RCA significant lesions, obtuse marginal 1 lesions, obtuse marginal 1 significant lesions, proximal RCA lesions, proximal RCA significant lesions and total of lesions in distal vessels (distal portion of coronary arteries+diagonal brance+obtuse marginal branch+posterior descending artery) than NIDDM patients without PDR and renal failure. Conclusions : Both groups of NIDDM patients have no statistically significant difference in prevalence of left main disease and triple vessel disease. However, the presence of PDR or renal failure in NIDDM patients are associated with more multiple lesions and multiple significant lesions.


SUBJECT

  1. เบาหวาน
  2. โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์
  3. ไตวายเรื้อรัง

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis430236 LIB USE ONLY
Medicine Library : Thesisจ658ค 2543 CHECK SHELVES
Medicine Library : Thesisจ658ค 2543 CHECK SHELVES