Authorโสรญา รอดประเสริฐ, ผู้แต่ง
Titleการเตรียมฟิล์มที่มีรูพรุนจากยางธรรมชาติผสมพอลิเมอร์ละลายน้ำ / โสรญา รอดประเสริฐ = Prepartion of porous film from natural rubber / water-soluble polymer mix
Imprint 2543
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72291
Descript ก-ณ, 94 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือ การเตรียมแผ่นฟิล์มยางที่มีรูพรุนโดยการผสมพอลิเมอร์ที่ละลายนํ้าลงในนํ้ายางธรรมชาติในความเข้มข้นต่างๆ กันแล้วขึ้นรูปแผ่นฟิล์มยางตามกระบวนการ ผลิตถุงมือทั่วไป จากนั้นจึงทำการสกัดเอาพอลิเมอร์ออกด้วยน้ำร้อน ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้พอลิเมอร์ 3 ชนิด เพื่อทดลองเปรียบเทียบกันคือ พอลิเอทิลีนไกลคอล แป้ง และพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงทำการทดสอบสมบัติของแผ่นฟิล์มยางในด้าน ความแข็งแรงการทนต่อแรงดึง ความสามารถในการซึมผ่านของอากาศ และความสามารถในการสะท้อนนํ้า และตรวจสอบสภาพพื้นผิว ของแผ่นฟิล์มยางโดยการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด พบว่าแผ่นฟิล์มยางที่ขึ้นรูปจากนํ้ายางผสมพอลิเมอร์ความเข้มข้น 1-10% มีขนาดของช่องว่างระหว่างอนุภาคยางใหญ่ขึ้นและมีปริมาณ1ช่อง1ว,างระหว่างอนุภาคยางมากขึ้นกว่าแผ่น'ฟิล์มยางที่'ขึ้นรูปจากนํ้ายางที่ไม่ได้ผสมพอลิเมอร์ เมื่อทดสอบหาความสามารถให้อากาศซึมผ่านด้วยเครื่องทดสอบหาความสามารถให้อากาศซึมผ่านผ้า (air permeable tester for fabrics) ตามมาตรฐาน ASTM-D 737-96 พบว่า แผ่นฟิล์มยางที่ขึ้นรูปจากนํ้ายางและนํ้ายางผสมพอลิเมอร์ไม่สามารถให้อากาศซึมผ่านได้ เมื่อนำนํ้ายางผสมพอลิเมอร์มาเคลือบบนผ้าผ่าย พบว่านํ้ายางผสมพอลิเมอร์บางความเข้มข้นสามารถทำให้ผ้าผ้ายสะท้อนนํ้าแต่อากาศซึมผ่านได้ ซึ่งน้ำยางที่ใช้เคลือบผ้าเหล่านี้เป็นนํ้ายางผสมพอลิเอทิลีนไกลคอล 5%, 5ส่วน และ 10%, 10ส่วน นํ้ายางผสมแป้ง 5%, 5 ส่วน และนํ้ายางผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ 5% , 5 ส่วน จุ่มเคลือบผ้าเป็นเวลา 15 วินาที เมื่อทดสอบสมบัติด้านการสะท้อนน้ำ พบว่าแผ่นฟิล์มยางมีความสะท้อนนํ้าได้เทียบเท่าแผ่นฟิล์มยางที่ขึ้นรูปจากนํ้ายาง แผ่นฟิล์มยางที่ขึ้นรูปจากนํ้ายางผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์มีความทนต่อแรงดึงสูงกว่าแผ่นฟิล์มยางขึ้นรูปจากนํ้ายางที่ไม่ได้เติมพอลิเมอร์ ส่วนแผ่นฟิล์มยางที่ขึ้นรูปจากนํ้ายางผสมพอลิเอทิลีนไกลคอลหรือแป้งจะมีความทนต่อแรงดึงตํ่ากว่า เล็กน้อย
The purpose of this study was to prepare porous rubber film from natural rubber and various water soluble polymers such as polyethylene glycol, starch, and polyvinyl alcohol. Polymer was added and mixed well with rubber latex and the rubber film was formed using the coagulant dipping method. The polymer was finally removed from the rubber film by rinsing with hot water. The rubber film was then tested for tensile strength, air permeability, and water repellency. Scanning electron microscope was brought to observe the film surface. Test results indicated that rubber films made from rubber latex / polymer mix contained a bit larger and higher amount of gaps than natural rubber film. However, these rubber films repelled water well and were impermeable by air when tested on an air permeable tester for fabrics. Cotton fabrics coated with rubber latex / polymer mix at certain concentrations were water repellent and air permeable. These coating materials consisted of rubber latex / polyethylene glycol 5-10 % mix, rubber latex / starch 5 % mix 1 and rubber latex / polyvinyl alcohol 5 % mix and the coating time was 15 seconds. Rubber films made from rubber latex / polyvinyl alcohol mix showed higher tensile strength than natural rubber films while rubber films made from rubber latex / polyethylene glycol or from rubber latex / starch mix showed lower.


SUBJECT

  1. พอลิเมอร์
  2. ยาง
  3. ฟิล์มพอลิเอสเตอร์
  4. Polymers
  5. Rubber
  6. Polyester films