Authorภารวี หิรัญรัตน์, 2515-
Titleความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงในเด็กอ้วน / ภารวี หิรัญรัตน์ = Prevalence and risk factors of hypercholesterolemia in obese children / Paravee Hiranrat
Imprint 2543
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4389
Descript [9], 29 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

เพื่อศึกษาถึงความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงในเด็กอ้วน รูปแบบการศึกษา: เป็นการทำวิจัยแบบวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ศึกษา: โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ประชากรที่ศึกษา: เด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน อายุระหว่าง 12-15 ปี ที่มีน้ำหนัก ต่อ น้ำหนักต่อความสูง มากกว่าร้อยละ 120 โดยไม่มีโรคของต่อมไร้ท่อ หรือโรคทางโครโมโซม และไม่ได้รับประทานยาตัวหนึ่งตัวใดในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา วิธีการศึกษา: เด็กที่เข้าร่วมการศึกษาทุกรายจะได้รับการซักประวัติครอบครัวเกี่ยวกับการมีโรคหัวใจขาดเลือดและภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติ และตรวจระดับโคเลสเตอรอลโดยวิธีการเจาะเลือดจากปลายนิ้วและตรวจโดยใช้แผ่นตรวจเลือด ด้วยวิธีของ Reflotron dry chemistry โดยไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด ผลการศึกษา: เด็กอ้วนที่เข้าร่วมการศึกษา 89 ราย มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 170 มก/ดล จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.8 พบว่าระดับความอ้วน และประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ (p>0.05) ส่วนการมีประวัติภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงของบิดาและ/หรือมารดา มีความสัมพันธ์กับการมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.02) สรุป: เด็กอ้วนมีความชุกของภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงร้อยละ 34.8 การใช้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงของบิดาและ/หรือมารดา เป็นปัจจัยร่วมในการเลือกตรวจระดับโคเลสเตอรอลในเลือดในเด็กอ้วนจะทำให้สามารถตรวจพบภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงในเด็กอ้วนได้มากขึ้น
To determine the prevalence and identify the risk factors of hypercholesterolemia in obese children. Design : Cross sectional analytic study. Setting : Bangkok Christian College. Target populations : Students grade 7-9, age between 12-15 years, who had body weight greater than 120% of percent weight for height, and did not have any endocrine diseases, chromosomal abnormalities or take any drugs, were included in this study. Interventions : All subjects were taken parentaly history of hypercholesterolemia and coronary heart disease. Non-fasting capillary blood cholesterol level was measured by reflotron dry chemistry method and hypercholesterolemia was determined when total blood cholesterol level > 170 mg/dl. Results : Thirty-one from 89 obese children (34.8%) had non-fasting capillary blood cholesterol level > 170 mg/dl. There were no significant associations between severity of obesity, family history of coronary heart disease and hypercholesterolemia. (p>0.05) but there was a significant association between parental hypercholesterolemia and hypercholesterolemia. (p = 0.02) Conclusions : Obese children had high prevalence of hypercholesterolemia. But adding the criterion of parental hypercholesterolemia to obesity would increase the yield of cholesterol screening.


SUBJECT

  1. Hypercholesterolemia
  2. Obesity
  3. ภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด
  4. โรคอ้วน
  5. คอเลสเตอรอล
  6. โรคอ้วนในเด็ก

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis430839 LIB USE ONLY
Medicine Library : Thesisภ467ค 2543 CHECK SHELVES