Authorคมสัน สนองพงษ์
Titleการปรับปรุงข้อบกพร่องหลักในกระบวนการขึ้นรูปโลหะ สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ / คมสัน สนองพงษ์ = Improvement of defects modes in the process of metal machining for automotive industry / Komsan Sanongpong
Imprint 2543
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9346
Descript ก-ฐ, 214 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงระยะที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศ อุตสาหกรรมรถยนต์นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ ของประเทศอุตสาหกรรมหนึ่งที่ไม่ถูกกระทบกระเทือน จากภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวมากนัก ซึ่งอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการลงทุนที่มีเป็นจำนวนมาก ทั้งจากภายในและต่างประเทศ และยังมีตลาดส่งออกในสัดส่วนที่สูง นอกจากนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ยังช่วยรักษา สภาวะการจ้างงานโดยรวมของประเทศไว้ได้ เนื่องจากมีการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมรถยนต์อยู่ในระดับที่สูง ดังนั้นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งเน้นที่การปรับปรุงแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่อง ที่เกิดขึ้นในกระบวนการขึ้นรูปโลหะของอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ ซึ่งได้แก่การจัดทำการปรับปรุงมาตรฐานในการทำงาน การปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ไม่สมบูรณ์ การปรับปรุงระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ และการฝึกอบรมพนักงาน โดยมีเป้าหมายให้อัตราการเกิดข้อบกพร่องลดลงต่ำกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ จากการวิเคราะห์ในโรงงานตัวอย่าง พบว่าข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในกระบวนการผลิต มีอยู่ 4 ประการดังนี้ ระยะรูเจาะไม่ได้มาตรฐาน ขนาดรูเจาะไม่ได้มาตรฐาน ขนาดรูคว้านไม่ได้มาตรฐาน และรูเจาะเอียง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องเหล่านี้สามารถสรุปได้เป็น 4 สาเหตุสำคัญๆ ต่อไปนี้ สาเหตุแรกเกิดจากตัวพนักงาน เช่น มีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง สาเหตุที่สองเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเกิดการชำรุดเสียหาย สาเหตุที่สามเกิดจากวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐาน เช่น ขนาดไม่ได้มาตรฐาน และสาเหตุสุดท้ายเกิดจากวิธีการดำเนินงาน เช่น ไม่มีวิธีที่เป็นมาตรฐานในการปรับตั้งชิ้นงาน ในการผลิตจากการปรับปรุงการดำเนินงาน ตามขั้นตอนการวิจัยเปรียบเทียบก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุง พบว่าอัตราการเกิดข้อบกพร่องลดลงจาก 9.5% เหลือ 1.8% ซึ่งทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้นมาก
The economic crisis in Thailand since couples of years ago has put off the country economic situation with an impact on many industries. An automotive industry, has been effected very slightly. Besides, the automotive industry helps to uphold the employment condition of the country, referred to the high volume of labors used in the industry. Therefore, the improvement of competitive abilities, especially in quality, is very crucial. The objective of this thesis was to emphasize on the improvement of the causes of defect occurred during the machining process by using industrial engineering techniques as the following: an improvement of working standard; an improvement and modification of the machines and equipment; an improvement of a preventive manitenance system: a failure mode and effects analysis (FMEA) and an improvement of staff training program. The target of this objective was to reduce the occurrence of defect to be less than 3 percent. From problem analysis method of a sample industry, it revealed that the defect, which is frequently occurred in the manufacturing process, comprises of unstandardizable drilling hole pitch, unstandardizable drilling hole diameter, unstandardizable boring hole diameter, and oblique drilling hole. These defects are caused by some important reasons. The first reason is from the wrong performance of staff. The secon is from the damaged or ruined machines and equipments. The third is from the unstadardizable material. Final reason is from the unstandardizable operations. By following the research steps, comparing between the before and after applied techniques, it was found that percentage of defect is reduced from 9.5% to 1.8%


SUBJECT

  1. การควบคุมคุณภาพ
  2. ผลิตภัณฑ์ -- ข้อบกพร่อง
  3. อุตสาหกรรมรถยนต์

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis430023 LIB USE ONLY
Engineering Library : Thesisวิทยานิพนธ์ LIB USE ONLY