Authorปรีดา อัครจันทโชติ, ผู้แต่ง
Titleสุนทรียรูปในสื่อสารการแสดง "งิ้ว" ของคนไทยในปัจจุบัน / ปรีดา อัครจันทโชติ = Aesthetic formality of contemporary Chinese opera by Thai performers / Preeda Akkrajantachote
Imprint 2543
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64109
Descript ก-ณ, 301 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสุนทรียรูปของงิ้วในประเทศไทย อันมีองค์ประกอบได้แก่ 1) กระบวนการแสดง 2) เวที ฉาก และอุปกรณ์ 3) ดนตรีและการขับร้อง 4) ประเภทและบทบาทของตัวละคร 5) ศิลปะและเทคนิคการแสดง 6) เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า 7) วรรณกรรมที่ใช้ในการแสดง โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องงิ้ว แนวคิดเรื่องนาฏกรรมกับการสื่อสาร และแนวคิดเรื่องสุนทรียทัศน์ของขงจื๊อ เพื่อศึกษาการก้าวเข้าสู่อาชีพการแสดงงิ้วคุณสมบัติพื้นฐานและการฝึกฝน เพื่อศึกษาสุนทรียรูปในสื่อสารการแสดงงิ้วของคนไทยซึ่งถ่ายทอดผ่าน องค์ประกอบต่างๆ และเพื่อศึกษาความเข้าใจของผู้ชมที่มีต่อกระบวนการสื่อความหมายนั้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสังเกตการณ์อย่างเป็นระบบและบันทึกวิดีโอ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงเอกสารประกอบกัน โดยศึกษาจากคณะงิ้วแต้จิ๋วในประเทศไทยจำนวน 6 คณะ ได้แก่ คณะไซ้ยงฮงเกียะท้วง คณะไซ้ป้อฮงเตี่ยเกียะท้วง คณะเตี่ยเกี้ยะอี่ไล้เฮง คณะไท้ตงเตี่ยเกียะท้วง คณะเหล่าเง็กเล่าซุง และคณะเหล่าบ่วงนี้เฮง ผลการวิจัยพบว่านักแสดงงิ้วชาวไทยเข้ามาสู่วงการงิ้วด้วยลองวิธีคือ 1 ) เข้ามาโดยมีผู้ใหญ่พามาทำสัญญาผูกมัดไว้กับโรงงิ้วเป็น “ฮี้เกี้ย” (ลูกงิ้ว) และ 2) การเข้ามาโดยความสมัครใจของตนเอง โดยคุณสมบัติพื้นฐานของนักแสดงไม่ใช่สิ่งสำคัญ หากแต่การได้เข้ามาสู่โรงงิ้วตั้งแต่อายุยังน้อย และกระบวนการฝึกฝนที่เข้มงวดในโรงงิ้วจึงเป็นสิ่งที่ทำให้นักแสดงผู้นั้นก้าวหน้าและประสบความสำเร็จไนการแสดง งิ้วเป็นการแสดงที่มีแบบแผนของความงาม สุนทรียรูปที่ถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบต่างๆ ของงิ้วพบว่าความงามคือความดี ความงามคือความผสมผสานระหว่างรูปแบบกับเนื้อหา ระหว่างความเหมือนจริงกับการใช้สิ่งสมมติ และระหว่างนาฏยรสต่างๆ ที่สำคัญได้แก่รสแห่งความรัก (ศฤงคาระรส) รสแห่งความขบขัน (หาสยรส) รสแห่งความกรุณา (กรุณารส) รสแห่งความดุร้าย (เราทระรส) และรสแห่งความกล้า (วีระรส) ในปัจจุบันการถ่ายทอดความงามมีความเปลี่ยนแปลงจากอดีตลองลักษณะคือ การเปลี่ยนแปลงเชิงลดทอน อันได้แก่การฝึกหัดและความประณีตในการแสดงที่ย่อหย่อนลง จำนวนบุคลากรที่ลดน้อยลง กับ การเปลี่ยนแปลงเชิงทดลอง อันได้แก่ความพยายามที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อการพัฒนางิ้ว ซึ่งผู้ชมบังคงเข้าใกระบวนการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงนี้ได้เพราะงิ้วแต้จิ๋วในประเทศไทยบังคงมีแบบแผนเดียวกับงิ้วแต้จิ๋วในประเทศจีน
This research was conducted to study the aesthetic formality of Chinese Opera in Thailand, comprising 7 topics i.e 1) performance series 2) stage, settings and props 3) music and singing 4) types and roles of characters 5) art and techniques of performance 6) costumes and painted faces 7) plays, to examine how the concepts of Chinese Opera, performance and communication, as well as Confucius' aesthetic vision have been employed by Thai performers, and the audience in the communication process. This study is a qualitative research by systematic observation and video recording, depth interviews, and documentary research from six Chaozhou (Taechew) Chinese Opera companies in Thailand, Sai Yong Hong, Sai Po Hong, Tia Kia Yi Lai Heng, Tai Tong, Lao Ngeg Lao Chung, and Lao Buang Ni Heng. Results of research found that Thai performers enter the Chinese Opera profession in two manners 1) "He Kia" (children of Chinese Opera) : parents take them to make a contact with the repertoire company 2) applying by their own accord. Basic qualifications are not important, but starting at an early age and rigorous training are the key factors behind a performers progress and success in their career. Chinese Opera is an aesthetic expression performed through compositions that expound beauty as merit, beauty in combination between form and content, reality and symbolism, and between different “Nataya Rasa” (behaviors) : such as sensuality (Sringara), laughter (Hasya), pathetic (Karuna), aggression (Raudra), and heroism (Vira). Contemporary performances have been changed because of 1) Reduction in training and the artistry of performers, the delicate of performance and performers and 2) Experiment and adoptions to develop the Chinese Opera. The audience still understands the communication process which changed little because the Chaozhou Chinese Opera in Thailand still maintains the same formality as in China..


SUBJECT

  1. งิ้ว
  2. สุนทรียศาสตร์
  3. ศิลปะการแสดง
  4. การสื่อสาร
  5. Operas
  6. Chinese
  7. Aesthetics
  8. Performing arts
  9. Communication

LOCATIONCALL#STATUS
Communication Arts Library : Thesis1402 2543 CHECK SHELVES