Authorวรวิทย์ ชีวาพร, ผู้วิจัย
Titleโครงการ การแพร่กระจายและสะสมของสารปรอทในสิ่งแวดล้อมทางทะเล บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ = Distribution and accumulation of Hg in the marine environment of The Eastern Coast of Thailand / วรวิทย์ ชีวาพร ... [และคนอื่น ๆ อีก 3 คน]
Imprintกรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2542
Descript 108 หน้า : ภาพประกอบ, แผนภูมิ ; 30 ซม

SUMMARY

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาหาระดับการปนเปื้อนของสารพิษปรอทในสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และการสะสมขยายตัวทางชีวภาพของสารพิษปรอทในสัตว์น้ำเศรษฐกิจบริเวณชายฝั่งทะเลภาค ตะวันออก 2) ข้อมูลองค์ความรู้ที่ได้จะนำไปคำนวณประเมินผลความเสี่ยงต่อการบริโภคสัตว์น้ำจาก บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก วิธีทดลอง : 1) ทำการเก็บตัวอย่างแท่งตะกอนดิน (Sediment core) จากบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ได้แก่ บริเวณอ่างศิลา ศรีราชา แหลมฉบัง พัทยาและมาบตาพุด มาเพื่อศึกษาประวัติการปน เปื้อนของสารปรอทในแท่งตะกอนดิน 2) ทำการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำชนิดต่างๆ จากบริเวณอ่างศิลา แหลมฉบัง และจังหวัดระยอง (บ้านเพ) ด้วยวิธีการลากอวนและถุงแพลงค์ตอน เพื่อศึกษาการสะสมและการขยายตัวทางชีว ภาพของสารปรอทในบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก 3) นำตัวอย่างที่ได้มาทำการวิเคราะห์หาสารปรอทโดยการย่อยด้วยกรดไนตริกและวัดด้วยวิธี Hydride generation Atomic Absorbtion Spectrophotometry (Perkin Elmer 3300) 4) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ ANOVA, Duncan’s New Multiple Range Test และ Pearson Correlation analysis ผลการทดลอง : ได้ทำการเก็บตัวอย่างแท่งตะกอนดินจำนวน 30 แท่ง ใน 5 สถานี จาก บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรีและระยอง มาวิเคราะห์ปริมาณสารปรอทโดยเครื่องอะตอมมิก แอบซอร์พชัน สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ระบบไฮไดรด์ รวมทั้งวิเคราะห์ขนาดอนุภาคดินตะกอน และปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินตะกอน ผลการศึกษาพบว่าโดยทั่วไปปริมาณสารปรอทไม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อระดับความลึกเปลี่ยนแปลงไป แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ไม่มี การสะสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณสารปรอทในปัจจุบันเมื่อเทียบกับอดีต นอกจากนี้ ยังพบว่าปริมาณสารปรอทในดินตะกอนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับปริมาณอนุภาค Silt&Clay และปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินตะกอนอย่างชัดเจน กล่าวคือบริเวณใดที่มีปริมาณอนุภาค Silt&Clay และปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สูง ก็จะมีปริมาณการปนเปื้อนของสารปรอทสูงตามไป ด้วย ปริมาณสารปรอทที่พบในแท่งตะกอนดินมีค่าอยู่ในช่วง 4.80 - 37.49 ng/g ซึ่งต่ำกว่าค่า มาตรฐานดินที่ไม่มีการปนเปื้อน (50 ng/g) และค่าเฉลี่ยในดินตะกอนของโลก (300 ng/g) ผล การศึกษายังพบว่าความแปรปรวนของปริมาณสารปรอทในแท่งตะกอนดินที่ตรวจพบในฤดูกาล และสถานีที่ต่างกันนั้น เกิดเนื่องจากตัวอย่างแท่งตะกอนดินที่เก็บได้ในแต่ละฤดูกาลและสถานีมี ลักษณะเนื้อดินและปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ที่แตกต่างกัน การศึกษาการแพร่กระจายตามแนว ระนาบพบว่าแหล่งชุมชน (ศรีราชา) มีการปนเปื้อนของสารปรอทในดินตะกอนสูงกว่าแหล่งเพาะ เลี้ยง (อ่างศิลา) แหล่งท่องเที่ยว (พัทยา) และ แหล่งอุตสาหกรรม (แหลมฉบังและมาบตาพุด) ในส่วนของการศึกษาด้านการสะสมตัวและการขยายตัวทางชีวภาพ พบว่ามีการขยาย ตัวทางชีวภาพของสารปรอทในห่วงโซ่อาหารในบริเวณอ่างศิลา แหลมฉบังและระยอง นอกจาก นี้ยังพบว่าสัตว์น้ำหลายชนิดเช่น กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) และปลาหางแข็งบั้ง (Atule mate) มีการสะสมสารปรอทเพิ่มขึ้น เมื่อมีขนาดเพิ่มขึ้น กลไกของการสะสมนี้ยังไม่ทราบ แน่ชัด วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง : ผลงานการวิจัยนี้พบว่า ปริมาณสารปรอทในแท่งตะกอน ดินไม่แสดงแนวโน้มการสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บริเวณที่มีอนุภาคตะกอนละเอียด เช่น อนุภาคของ silt&clay และปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สูง ก็จะมีปริมาณการปนเปื้อนของสารปรอท สูงตามไปด้วย ในส่วนของการสะสมตัวพบว่าสัตว์น้ำหลายชนิดมีการสะสมตัวของสารปรอทมาก ขึ้นเมื่อมีขนาดเพิ่มขึ้น และพบการขยายตัวทางชีวภาพของสารปรอทในห่วงโซ่อาหาร ใน บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก อย่างไรก็ตามเมื่อคำนวณค่า PTWI (Provisional tolerate-weekly intake) แล้วพบว่าการปนเปื้อนของสารปรอทในสัตว์ทะเลชายฝั่งภาคตะวันออกยังอยู่ในระดับที่ ปลอดภัยต่อการบริโภค
ข้อเสนอแนะ : สิ่งที่ค้นพบใหม่จากงานวิจัยนี้คือ พบว่าสารปรอทไม่แสดงแนวโน้มการสะสม ที่เพิ่มขึ้นในแท่งตะกอนดินจากชายฝั่งภาคตะวันออก แต่พบการขยายตัวทางชีวภาพของสาร ปรอทในห่วงลูกโซ่อาหารในบริเวณนี้ และมีการสะสมของสารปรอทมากขึ้นในสัตว์ทะเลบางชนิด เมื่อสัตว์ทะเลมีอายุหรือขนาดเพิ่มขึ้น เมื่อคำนวณค่าความเสี่ยงในการบริโภค PTWI (Provisional tolerate-weekly intake) แล้วพบว่าการปนเปื้อนของสารปรอทในสัตว์ทะเลชายฝั่ง ภาคตะวันออก ยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือการขยายขอบเขตการศึกษาให้ครอบคุมพื้นที่ชายฝั่งของอ่าว ไทยทั้งหมด
Objectives : 1. To investigate the extent of Hg contamination in the marine environment and the biomagnification of Hg in the economic marine animals of the Eastern Coast of Thailand. 2. To assess the risk of marine animal consumption due to the Hg contamination in the Eastern Coast of Thailand. Methodology : 1) Thirty sediment cores were taken from 5 stations namely: Angsila, Sriracha, Laem- Chabang, Pattaya, and Mabtapud for Hg analysis and studies regarding history of Hg contamination in sedimentary column. 2) Marine organisms were collected from Angsila, Laem Chabang, and Rayong province ( Ban Pae) by trawler and plankton net. The samples were kept for bioaccumulation and biomagnification studies. 3) Samples were then analysed for Hg by Nitric acid digestion and measured by means of Hydride generation Atomic Absorption Spectrophotometry ( Perkin Elmer 3300). 4) The data obtained was statistical analysis by ANOVA, Duncan’s New Multiple Range Test and Pearson Correlation analysis. Results : Thirty sediment cores were taken from 5 stations along the coastal line of Chonburi and Rayong provinces. Mercury concentrations were then determined by using a hydride generation atomic absorption spectrophotometer. Sediment texture was analysed by wet sieving techniques, whereas the titration method was used for determination of organic carbon in the sediments. Results of the analysis revealed no significant differences of the mercury level in each depth of the sedimentary column. These findings indicated that there was no increase of the present-day anthropogenic inputs of the mercury contamination when comparing with those of the previous day. Furthermore, the results also demonstrated that there was a significant correlation between the concentration of mercury and the texture of the sediments (%silt&clay) or the total organic carbon contents in the sediments. The mercury content ranged from 4.80 – 37.49 ng/g, which was similar to the un-polluted sediment standard (50ng/g) and lower than the world average value for sediment ( 300ng/g). In finding of the study, it was also found that there were significant differences among the mercury level collected from different seasons and also among those collected from different stations. These temporal and spatial variations were due to different textures of the collected sediments. These findings supported the idea that clay –minerals and organic materials have strong affinity with free mercuric ions. Horizontal distribution of mercury contamination in the area showed higher concentration of mercury contamination in the urban area than in the aquaculture area ( Angsila), tourist area ( Pattaya), and industrial areas ( Laem Chabang and Mabtapud). In a present study, biomagnification of Hg was found in the marine food-chain of Angsila, Laem Chabang, and Rayong province. Hg levels tend to increase at higher trophic levels and according to the animal’s size ( i.e., White shrimp (Peneaus merguiensis) , and Banded crevalle fish (Atule mate) ). The mechanism of this accumulation was not well understood. Discussion, Conclusion : Results of the studies indicated that there was no significant increase of the present-day anthropogenic inputs of the mercury contamination when comparing with those of the previous day. Furthermore, the results also demonstrated that there was a significant correlation between the concentration of mercury and the texture of the sediments (%silt&clay) or the total organic carbon contents in the sediments. Mercury levels tend to increase at higher trophic levels in the food chain and according to the animal’s size. The calculation of PTWI ( Provisional tolerate-weekly intake) indicated that the mercury levels of marine animals from the Easterm Coast of Thailand are within safety limit. Suggestions/Further Implication/Implementation : Results of the studies revealed that there was no significant increase of the Hg levels in the marine sediments from the Eastern Coast of Thailand. However, the results demonstrated that mercury levels tend to increase at higher trophic levels in the marine food-chain and according to the animal’s size. Provisional tolerate weekly intake(PTWI) value indicated that marine animal from the Eastern Coast are still safe for consumption. For further studies, we recommend to extend the study areas to cover the whole gulf of Thailand.


CONTENT

History of Hg contamination as recorded in the sediment core from the Eastern Coast of Thailand -- Bioaccumulcation and biomagnification of Hg in the Eastern Coast of Thailand


SUBJECT

  1. น้ำทะเล -- ปริมาณปรอท
  2. น้ำทะเล -- ปริมาณปรอท -- ไทย
  3. ปรอท -- แง่สิ่งแวดล้อม
  4. มลพิษทางทะเล

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (4th Floor)577.727 ว281ค 2542 CHECK SHELVES