Authorอภิรัฐ พุ่มกุมาร
Titleความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา : ศึกษากรณีพัฒนาการความร่วมมือขององค์กรเกี่ยวกับการควบคุมและปราบปรามยาเสพติดระหว่าง ค.ศ. 1987-1997 / อภิรัฐ พุ่มกุมาร = Thai U.S. relations : A case stady of the development of coopperation among druge and narcotics control and enforcement organizations, 1987-1997 / Apirat Pumkumarn
Imprint 2542
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11342
Descript ก-ฒ, 214 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา ในด้านพัฒนาการความร่วมมือขององค์กรเกี่ยวกับการควบคุมและปราบปรามยาเสพติด ระหว่าง ค.ศ. 1987-1997 โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นศึกษาพัฒนาการของนโยบาย เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เกิดจากการปรับเปลี่ยนนโยบายความมั่นคงภายในสหรัฐอเมริกา และเมื่อไทยปรับเปลี่ยนนโบายชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ผลการศึกษาทางด้านสหรัฐอเมริกา พบว่า นโยบายด้านความมั่นคงในอดีตเน้นการรักษาอธิปไตยโดยอาศัยพลังอำนาจทางทหารเป็นหลัก ส่วนในปัจจุบันมุ่งเน้นการพัฒนาคน และถือว่าปัญหายาเสพติดเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความมั่นคงในประเทศ เพราะเป็นการทำลายคุณภาพของคน จึงต้องการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดไม่ให้เข้าประเทศ สำหรับผลการศึกษาทางด้านไทย พบว่า นโยบายด้านความมั่นคงในอดีตมีการสนับสนุนชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนเป็นกันชนเพื่อขวางกั้นอุดมการณ์ทางการเมืองและการปกครองที่แตกต่าง แต่ปัจจุบันมุ่งเน้นการดำเนินความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะพม่า ไม่สนับสนุนชนกลุ่มน้อยเป็นแนวกันชน และได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งนี้ การที่ไทยและสหรัฐอเมริกาต่างประสบกับปัญหายาเสพติดซึ่งมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน คือ "สามเหลี่ยมทองคำ" ดังนั้นนโยบายของไทยและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันที่ปรับเปลี่ยนจากอดีต จึงสนับสนุนซึ่งกันและกันสามารถประสานสอดคล้องและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยจัดตั้งองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมและปราบปรามยาเสพติดร่วมกันอย่างจริงจัง
The research describes the Thai-U.S. relations regarding the development of cooperative organizations in controlling and fighting against drugs and narcotics in 1987-1997. The author aims to study the bilateral policy that indicates Thai-U.S. cooperation in solving drugs and narcotics. The policy was initiated when the U.S. revised the issues on domestic stability whereas Thailand changed the political policy, concerning the minority along the border. According to the U.S. policy, the vision of domestic stability, enforced by the powerful military, portrays the effort to sustain sovereign power. At present, however, the U.S. takes on human development as a potential power. On the study of Thailand, the policy in the past supported the minority groups along the borderline in order to obstruct the opposing political ideology. In contrast, the present policy shifts to focussing on diplomatic relations with neighboring countries. In addition, Thailand has become cooperating with Myanmar in drugs and narcotics control on the large source called "The Golden Triangle". Regarding the mutual support, the U.S. try to eliminate the transit route of drugs and narcotics with a good cooperation from Thailand. The U.S. also contributes to Thailand a great support. Therefore, the policy to develop cooperative organizations is coherent and mutually supportive. Consequently, during these particular years (1987-1997) the cooperation between Thailand and the U.S. enhanced the effectiveness of solving drugs and narcotics problems.


SUBJECT

  1. ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- สหรัฐอเมริกา
  2. การควบคุมยาเสพติด
  3. ความร่วมมือระหว่างประเทศ

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวค 103 LIB USE ONLY