Authorวนิดา แสงอลังการ
Titleผลของแอนโดรกราโฟไลด์ นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ และ 14-ดีออกซี-11, 12-ไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะหนูขาว นอกร่างกาย / วนิดา แสงอลังการ = Effect of andrographolide, neoandrographolide and 14-deoxy-11, 12-didehydroandrographolide on isolated rat stomach smoothe muscle contraction / Vanida Sangalungkarn
Imprint 2533
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23310
Descript ก-ฑ, 77 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเบื้องต้น พบว่าสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในกลุ่มไดเทอร์ปีน แลคโตน 3 ชนิด คือ แอนโดรกราโฟไลด์ นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ และ 14-ดีออกซี-11, 12- ไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ ความเข้มข้น 1.5 x 10-5 และ 1.5 x 10-6 M. มีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะหนูขาวและหนูถีบจักรได้ ผลการทดลองในหนูขาวพบว่า สารสกัดทั้ง 3 ชนิดจะออกฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดจากอะเซทีลโคลีนแบบไม่ได้แย่งจับที่ตัวสัมผัสเดียวกัน (non-competitive antagonist) และเมื่อกล้ามเนื้อถูก depolarized ด้วยสารละบายที่มี K+ และความเข้มข้นสูง ผลการยับยั้งการหดเกร็งที่เกิดจากการใช้แคลเซี่ยมคลอไรด์จะให้ผลแบบแข่งขันกัน (competitive antagonist) ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนี้เหมือนกับการทดลองที่ใช้เวอราปามิล (verapamil) ความเข้มข้น 5 x 10-8 M. ความแรงในการยับยั้งของสารสกัดทั้ง 3 ชนิด จะขึ้นกับขนาดที่ให้ ส่วนผลการทดลองที่ใช้กล้ามเนื้อกระเพาะหนูถีบจักรทั้งกระเพาะนั้น พบว่าสารสกัดจะออกฤทธิ์ยับยั้งการตอบสนองทั้งแบบแฟซิก (phasic) และโทนิค(tonic) จากการใช้อะเซทีลโคลีนและแคลเซี่ยมคลอไรด์ได้ โดยจะเห็นผลการยับยั้งชัดเจนในระยะโทนิค จากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิดให้ผลยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะหนูขาวและหนูถีบจักรแบบไม่เฉพาะเจาะจงต่อสารกระตุ้น (non-specific antagonist) กลไกการออกฤทธิ์อาจจะเกิดขึ้นได้หลายทาง แต่ผลการทดลองนี้ชี้แนะว่ากลไกแบบหนึ่งจะออกฤทธิ์โดยการป้องกันการเคลื่อนที่ของ Ca+2 จากภายนอกเซลล์เข้าสู่ภายในเซลล์ (calcium entry blocker) ซึ่งการวิจัยนี้ให้ผลสนับสนุนรายงานการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในทางคลินิกและทางการแพทย์แผนโบราณสำหรับการรักษาโรค อุจจาระร่วงและโรคในระบบทางเดินอาหาร
This report presents the in vitro study of pharmacological effects of three members in the diterpenoid lactone group (andrographolide, neoandrographolide and 14-deoxy-11, 12-didehydroandreorapholide) which were extracted from a native Thai plant named Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall. ex Nees. In the dose of 1.5 x 10-5 and 1.5 x 10-6 M. they had antispasmodic effect on isolated rat and mice stomach smooth muscle preparation. Their effects on rat stomach strips showed non-competitive antagonism to spasmogenic activity of acetylcholine and in rat stomach strips depolarized by potassium chloride in high concentration, they showed competitive antagonism to spasmogenic activity of calcium chloride. In depolarizing condition, their competitive antagonistic effects were the same as those obtained from 5 x 10-8 M. verapamil. The inhibitory potencies were dose-dependent. In whole isolated mice stomach, the extracts reduced phasic and tonic contraction, especially in tonic phase, induced by acetylcholine and calcium chloride. The results of the present study indicated that the extracts were non-specific antagonist. Although several mechanisms are possible, the results suggest that they may act as calcium-entry blocker. The antispasmodic effect supports the clinical use of this native plant in diarrheal disorder of the gastrointestinal tract.